การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA
fingerprint)
คือรูปแบบของ
แถบชิ้นดีเอ็นเอ
ที่ถูกแยกจากกันบนตัวกลางตามโครงสร้างของดีเอ็นเอของพืช
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะต้น
ยกเว้นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียว(monozygotic
twin)
หรือพืชโคลนเดียวกันหรือสายพันธุ์บริสุทธิ์
หรือลูกผสมเดียวกัน
ซึ่งลายพิมพ์ดีเอ็นเอดังกล่าวในพืชแต่ละต้นจะสามารถตรวจสอบซ้ำและให้ผลที่เหมือนกันตลอด
ดังนั้นข้อดีของการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
คือสามารถตรวจสอบหาลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เป็นเอกลักษณ์ของพืชแต่ละต้นได้
สามารถทำซ้ำๆกัน และได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง
(Morris, 1994)
การจัดจำแนกสายพันธุ์พืชในระดับโมเลกุล
การแยกความแตกต่างของสายพันธุ์
โดยอาศัยลักษณะทางกายภาพหรือลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชนั้น
อาจมีอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันได้มีการใช้เทคนิคต่างๆในการหาความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต
โดยอาศัยความแตกต่างในระดับยีนหรือดีเอ็นเอ ได้แก่ RFLP(Restriction
Fragment Length Polymorphism) (Weber และ Helentjaris,1989) RAPD(Random
Amplified Polymorphic DNA) (Wies man, 1998) , STS(Sequence-Tagged
Site) (Daniel และคณะ, 1998), AFLP(Amplified Fragment Length
Polymorphism DNA) (Vos และคณะ, 1995) และ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA
Fingerprinting) (Nyborn และคณะ, 1990)
เทคนิคเหล่านี้ทำให้เกิดความแตกต่างในระดับดีเอ็นเอซึ่งใช้ในการบ่งชี้และจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตได้
ชิ้นดีเอ็นเอที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนหรือเครื่องหมายของลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า
molecular marker
ซึ่งหมายถึงการใช้ดีเอ็นเอเป็นเครื่องหมายในการตรวจและใช้ประโยชน์จากการเกิดความแตกต่างหรือ
polymorphism ของลำดับดีเอ็นเอที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทางชีวโมเลกุล
การใช้ลายพิมพ์ DNA
เพื่อจำแนกพันธุ์พืช
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้โมเลกุลเครื่องหมาย (Molecular Marker)
ในการจำแนกพันธุ์พืช
2. เพื่อให้เห็นความแตกต่างทางชีวโมเลกุลของพืช
ซึ่งไม่สามารถแยกความแตกต่างได้โดยการมองด้วยสายตา
3. เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชในอนาคตได้ โดย
3.1 ช่วยในการตรวจสอบ Somaclonal Variation
ในกรณีที่มีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
3.2 ช่วยในการตรวจสอบ linkage ระหว่าง DNA marker
กับลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อพันธุ์พืช เช่น ต้านทานโรค แมลง ฯลฯ
เพื่อช่วยในการคัดเลือกและหาตำแหน่งยีนบนโครโมโซม
3.3 ช่วยในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น
โดยไม่ต้องรอออกดอกหรือผล
4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจดสิทธิบัตรรับรองพันธุ์พืช
การจำแนกสายพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิค AFLP
วัตถุประสงค์
1.) เพื่อใช้โมเลกุลเครื่องหมาย (Molecular Marker)
ในการจำแนกพันธุ์พืช
2.) เพื่อให้เห็นความแตกต่างทางชีวโมเลกุลของพืช ซึ่งไม่สามารถ
แยกความแตกต่างได้โดยการมองด้วยสายตา
3.) เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชในอนาคตได้ โดย
3.1 ช่วยในการตรวจสอบ Somaclonal Variation
ในกรณีที่มีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
3.2 ช่วยในการตรวจสอบ linkage ระหว่าง DNA marker
กับลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อพันธุ์พืช เช่น ต้านทานโรค แมลง ฯลฯ
เพื่อช่วยในการคัดเลือกและหาตำแหน่งยีนบนโครโมโซม
3.3.ช่วยในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น
โดยไม่ต้องรอออกดอกหรือผล
4.) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจดสิทธิบัตรรับรองพันธุ์พืช |