|
|
การที่กองทัพเรือเข้ามาสนองพระราชดำริ
นำความสมบูรณ์มาสู่งานของ อพ.สธ. โดยรวม
พื้นที่การศึกษาวิจัยมิได้จำกัดอยู่แต่บนผืนแผ่นดินอีกต่อไป
หากแต่ขยายออกไปครอบคลุมท้องทะเลและเกาะในราชอาณาจักร
ส่งผลต่อไปถึงประเภทและชนิดของทรัพยากรที่ศึกษาวิจัย
ที่ขยายวงไปสู่ทรัพยากรที่มีแหล่งที่อยู่ในทะเล และเกาะ
ที่จะทำให้เกิดฐานความรู้ที่กว้างและมั่นคง
เป็นฐานเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต
เป็นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
|
|
-3-
|
|
งานภาคสนามที่เกาะแสมสาร
เริ่มจากการเตรียมพื้นที่ดำเนินการ
รองผู้บังคับการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
ร่วมกับประธานคณะกรรมการบริหาร อพ.สธ.
ได้สำรวจกำหนดพื้นที่ที่จะศึกษา เมื่อวันที่ 27-29
พฤษภาคม พ.ศ.2541 แล้วเสร็จในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2541
คณะปฏิบัติงานวิทยาการของ อพ.สธ.
ที่ประกอบด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ คือ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
กรมป่าไม้ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ก็ได้เข้าร่วมกับคณะปฏิบัติงานวิทยาการของกองทัพเรือ ที่ประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่ของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ กรมช่างโยธาทหารเรือ
และกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ
ได้เข้าทำการสำรวจเพื่อทราบประเภทและชนิดของทรัพยากร นับแต่
หิน แร่ ดิน ไปจนถึง พืช สัตว์ รา จุลชีวัน
ทั้งบนเกาะและพื้นที่ใต้ทะเลรอบเกาะแสมสาร
นับเป็นการเปิดมิติใหม่
ด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อการปฏิบัติงานศึกษาวิจัย
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะสาขา
เฉพาะทรัพยากร พร้อมๆ กันไปกับการจัดอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้แก่คณะวิจัยกลุ่มย่อยๆ
บางครั้งมากถึง 28 กลุ่ม ที่เข้ามาร่วมกันศึกษาทุก 2 สัปดาห์
ต่อเนื่องกันไปถึง 4 เดือน
และหลังจากนั้นได้มีการสำรวจศึกษาทุก 2 เดือน
เห็นชัดเจนว่าการเข้าสนองพระราชดำริของกองทัพเรือ
ทำให้เกิดความสมบูรณ์ที่เป็นฐานสำคัญของประเทศขึ้นมาอีกด้านหนึ่งคือ
บุคลากร กองทัพเรือที่มีบุคลากรของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
กองเรือยุทธการ เป็นหลัก
เป็นแกนของการปฏิบัติงานภาคสนามด้านการสำรวจ ศึกษา ร่วมกับคณะปฏิบัตงานวิทยาการ
ที่เป็นอาจารย์ นักวิจัยในสาขาวิทยาการต่างๆ
ที่เกี่ยวกับทรัพยากรทั้งกายภาพและชีวภาพที่มาจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานทั่วประเทศ
ทำให้เกิดความเข้าใจ ชื่นชม ศรัทธาในหน้าที่ ในงานของกันและกัน
ทหารเรือในฐานะผู้ปกป้อง รักษาน่านน้ำ ราชอาณาจักร
แผ่นดินเกิด ด้วยความมุ่งมั่น แม้นชีวิตตน กับ อาจารย์
นักวิจัย ในฐานะของผู้ให้
ที่มุ่งสู่การให้ในสิ่งดีสิ่งงามเกี่ยวกับทรัพยากรและความรู้ที่จะถ่ายทอดสู่ศิษย์
เพื่อให้เกิดมีฐานวิทยาการที่มั่นคง กว้างขวาง
สำหรับประเทศ เพื่อการพัฒนาต่อไป
:อ่านต่อ: |
|