ตัวอย่างสัตว์ในดิน
แมลงหางดีด
พบได้มากมายหลายชนิด แมลงพวกนี้จะกินสารอินทรีย์ในดินเป็นอาหาร
แมลงสองง่าม
จะกินซากพืชที่กำลังเน่าเปื่อยเป็นอาหาร
มันจึงทำหน้าที่ในการย่อยสลาย
เหาหนังสือ
มักกินส่วนที่เป็นเซลลูโลสเป็นอาหาร
นั่นก็หมายความว่ามันเป็นผู้ย่อยสลายซากพืช
เพลี้ยไฟระยะตัวอ่อน
จะอาศัยในดินและกินซากอินทรีย์สาร แต่เมื่อมันเจริญเป็นตัวเต็มวัย
จะมีปีกและหันไปกินน้ำเลี้ยงของต้นพืชเป็นอาหาร
ทำให้ต้นพืชต้นเล็กๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้
หรือบางครั้งมันยังทำหน้าที่เป้นพาหะนำโรคพืชได้หลายชนิด
ตัวอ่อนของด้วงบางชนิด
อาจกินซากพืช ซากสัตว์หรือแม้แต่มูลของสัตว์บางชนิดเป็นอาหาร
มันจึงเป็นตัวย่อยสารอินทรีย์สาร
แมลงหางหนีบ
จะทำหน้าที่เป็นตัวห้ำ เป็นการควบคุมปริมาณสัตว์อื่นๆ
ที่มีขนาดเล็กกว่า
แมลงป่องเทียม
การกินกินอาหารเช่นเดียวกับแมลงหางหนีบ
ไรในดิน
พบได้มากมายหลายชนิด หลายขนาด มันจะกินสารอินทรีย์ในดิน
หรืออาจกินแมลงชนิดอื่นๆ เช่น ไข่ของแมลงหางดีด เป็นต้น
|
|
|
|
ตะขาบ (Centipedes)
อยู่ใน Class Chilopoda
เป็นตัวห้ำกินสัตว์ขนาดเล็กเกือบทุกชนิดเป็นอาหาร |
แมลงป่องเทียม
|
จากการศึกษาในพื้นที่ที่แตกต่างกันทางด้านกายภาพ
จะพบสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันทั้งชนิดและจำนวน
ในบริเวณที่มีความชื้นเหมาะสม มีร่มเงา
อุณหภูมิบนผิวดินไมร้อนจัดก็จะพบความหลากหลายของสัตว์หน้าดินและสัตว์ในดินสูงกว่าและจำนวนมากกว่าในบริเวณดินที่ไม่สมบูรณ์
เช่น ดินแห้งเกินไป
อีกอย่างหนึ่งในบริเวณที่มีมีการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น (check
dam) จะเกิดการขังน้ำในบริเวณหลังฝาย
ทำให้เกิดความชุ่มชื้นเป็นบริเวณกว้างและดินบริเวณนั้นจะมีความชุ่มชื้นนานจนกว่าน้ำในฝายจะแห้งลงจากการระเหยเพราะถูกแสงแดดแผดเผาหรือจากการที่น้ำซึมลงในดิน
ในบริเวณที่ว่านี้จะสนับสนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์
ฉะนั้นในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เราควรคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนผิวดินและในดิน
ด้วยการไม่ทำลายหน้าดิน
โดยการใช้สารเคมีที่จะทำอันตรายต่อสัตว์หน้าดิน
โดยการใช้สารเคมีที่จะทำอันตรายต่อสัตว์หน้าดินและในดินอย่างระมัดระวัง
เช่น ยาฆ่าหญ้า สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ไม่ควรเทราดน้ำมันใดๆ
ที่ใช้แล้วลงบนพื้นดิน ไม่ทำการเผาป่า
เพราะความร้อนจะฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในบริเวณที่ไฟผ่านไป
ควรส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ในที่รกร้างว่างเปล่า
เพื่อให้เกิดความร่มเงาของต้นไม้และเกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
เพราะสัตว์หน้าดินและสัตว์ในดิน จะทำให้เกิดวัฎจักรในการย่อยสลายของซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ให้เป็นธาตุที่จำเป็นแก่ต้นพืช
และเมื่อพืชเจริญเติบโตขึ้นจนกระทั่งผลิดอกออกผล
ก็จะยิ่งดึงดูดสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้เข้ามาสู่บริเวณนั้นเพิ่มขึ้น
ซึ่งก็หมายถึงเกิดความหลากลายมากขึ้นตามไปด้วย
โลกของเราจะเกิดความอุดมสมบูรณ์และสวยสดงดงาม
มนุษย์ก็จะมีความสุขตลอดไปนานแสนนาน
ที่มาของข้อมูล
: จากยอดเขาถึงใต้ทะเล ,
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบพระชันษา , พฤษภาคม 2546 |