-
ไกลโคไซด์ (Glycoside)
เป็นสารประกอบที่พบมากในพืชสมุนไพร มีโครงสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นน้ำตาล กับส่วนที่ไม่ได้เป็นน้ำตาล ที่เรียกชื่อว่า
aglycone (หรือ genin)
การที่มีน้ำตาล ทำให้สารนี้ละลายน้ำได้ดี ส่วน
aglycone เป็นสารอินทรีย์
ซึ่งมีสูตรโครงสร้างและเภสัชวิทยาแตกต่างกันไป
และส่วนนี้เองที่ทำให้คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของ
glycoside แตกต่างกันไป และทำให้แบ่ง
glycoside ได้เป็นหลายประเภท เช่น
- Cardiac
glycoside
มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจ
และระบบการไหลเวียนของโลหิต เช่น สารในใบยี่โถ
- Anthraquinone
glycoside เป็นยาระบาย
(laxative)
ยาฆ่าเชื้อ (antibiotic)
และสีย้อม สารนี้มีในใบชุมเห็ดเทศ เมล็ดชุมเห็ดไทย ใบขี้เหล็ก
ใบมะขามแขก เป็นต้น
- Saponin glycoside
เมื่อกับน้ำจะได้ฟองคล้ายสบู่ มักใช้เป็นสารตั้งต้นการผลิตยา
ประเภทสเตอรอยด์ เช่น ลูกประคำดีควาย
- Flavonoid glycoside
เป็นสีที่พบในดอกและผลของพืช ทำเป็นสีย้อมหรือสีแต่งอาหาร
บางชนิดใช้เป็นยา เช่น สารสีในดอกอัญชัน
-
แทนนิน (Tannin)
เป็นสารที่พบในพืชทั่วไป มีรสฝาด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน
และสามารถตกตะกอนโปรตีนได้ มีฤทธิ์ฝาดสมานและฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
พบในใบฝรั่ง เนื้อของกล้วยน้ำว้าดิบ
ยังมีสารที่พบในพืชทั่วไป เช่น คาร์โบไฮเดรท ไขมัน กรดอินทรีย์ สเตอรอยด์
สารเรซิน สารกัม (Gum) วิตามิน
จะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ แต่บางอย่างก็มีฤทธิ์ทางยา เช่น
น้ำมันละหุ่งใช้เป็นยาระบาย เป็นต้น
ดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น
พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นยารักษาโรคมานาน
ประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีหลายชนิด
แต่ละส่วนของพืชสมุนไพรมีสารประกอบที่แตกต่างกันออกไป
สารเหล่านั้นเป็นตัวกำหนดสรรพคุณของพืชสมุนไพร
ชนิดและปริมาณของสารจะแปรตามชนิดของพันธุ์สมุนไพร
สภาพแวดล้อมที่ปลูกและช่วงเวลาที่เก็บพืชสมุนไพร
นักวิทยาศาสตร์ได้นำความรู้ และวิธีการทางเคมีมาค้นคว้าวิจัย
สารเคมีที่มีฤทธิ์ในพืชสมุนไพร ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง
ลักษณะวิธี การสกัด การจำแนกและการตรวจสอบสารเหล่านั้น
นอกจากนี้ยังใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์มาค้นคว้าสมุนไพร ด้านเภสัชวิทยา
พิษวิทยา การพัฒนารูปแบบยา การทดสอบทางเภสัชจลนศาสตร์
และการวิจัยทางคลีนิคอีกด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้ได้ยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรค
|