กลับหน้าหลัก : บทนำ
    ความรู้ทั่วไป
     การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
     การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
     การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
     วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
     สารประกอบทางเคมี-เภสัชวิทยาของสมุนไพร
     ข้อควรรู้ทั่วไปในการใช้ยาสมุนไพร
     ความหมายของคำที่ควรทราบ
     การเปรียบเทียบปริมาตรและปริมาณ
     ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยาไทย
     สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
     ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
    สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ














































 

     

1   2

ข้อควรรู้ทั่วไปในการใช้ยาสมุนไพร
  1. กลุ่มอาการ / โรคที่แนะนำให้ใช้สมุนไพร
    ปัจจุบันการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ส่งเสริมและเผยแพร่การใช้สมุนไพรตัวเดียวเพื่อรักษาโรค / อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยๆ และเนื่องจากสมุนไพรหลายชนิดเป็นพืชผักที่รับประทานอยู่เป็นประจำ จึงแนะนำไว้ในการส่งเสริมสุขภาพด้วย (รวมทั้งสีผสมอาหารที่อยู่ตามธรรมชาติ)
    กลุ่มโรค/อาการเบื้องต้นที่แนะนำให้ใช้สมุนไพรมี 18 โรค ดังนี้
    -  อาการท้องผูก
    -  อาการท้องอึดอัด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
    -  อาการท้องเสีย (แบบไม่รุนแรง)
    -  พยาธิลำไส้
    -  บิด
    -  อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เหตุจากธาตุไม่ปกติ)
    -  อาการไอ ขับเสมหะ
    -  อาการไข้
    -  อาการขัดเบา (คือปัสสาวะไม่สะดวก กะปริบกะปรอยแต่ไม่มีอาการบวม)
    -  โรคกลาก
    -  โรคเกลื้อน
    -  อาการนอนไม่หลับ
    -  ฝี แผลพุพอง (ภายนอก)
    -  อาการเคล็ดขัดยอก (ภายนอก)
    -  อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย (ภายนอก)
    -  แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ภายนอก)
    -  เหา
    -  ชันนะตุ
    หากเป็นโรค/ อาการเหล่านี้ให้ใช้สมุนไพรที่แนะนำ และหยุดใช้เมื่อหายไป แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรไปปรึกษาศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล
         ถ้าผู้ป่วยมีอาการโรค/ อาการดังกล่าว แต่เป็นอาการที่รุนแรง ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ไม่ควรรักษาด้วยการซื้อยารับประทานเองหรือใช้สมุนไพร อาการที่รุนแรงมีดังนี้
    1. ไข้สูง (ตัวร้อนจัด)  ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม บางทีพูดเพ้อ (อาจเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้ป่าชนิดขึ้นสมอง)
    2.  ไข้สูงและดีซ่าน (ตัวเหลือง) อ่อนเพลียมาก อาจเจ็บในแถวชายโครง อาจเป็นโรคตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฯลฯ
    3.  ปวดแถวสะดือ เวลาเอามือกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจท้องผูกและมีไข้เล็กน้อยหรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรง หรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ)
    4.  เจ็บแปลบในท้องคล้ายมีอะไรฉีกขาด ปวดท้องรุนแรงมาก อาจมีตัวร้อนและคลื่นไส้อาเจียนด้วย บางทีมีประวัติปวดท้องบ่อยๆ มาก่อน (อาจมีการะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้)
    5.  อาเจียนเป็นโลหิต หรือไอเป็นโลหิต (อาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือปอด) ต้องให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ก่อน ถ้าแพทย์อยู่ใกล้ควรเชิญมาตรวจที่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องพาไปพบแพทย์ ควรรอให้เลือดหยุดเสียก่อน และควรพาไปโดยมีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
    6.  ท้องเดินอย่างแรง  อุจจาระเป็นน้ำ บางทีมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว บางทีถ่ายพุ่ง ถ่ายติดต่อกันอย่างรวดเร็ว คนไข้อ่อนเพลียมาก ตาลึก หนังแห้ง (อาจเป็นอหิวาตกโรค) ต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วน ถ้าไปไม่ไหวต้องแจ้งแพทย์หรืออนามัยที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
    7.  ถ่ายอุจจาระเป็นมูกและเลือด บางทีเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยมาก อาจจะตั้งสิบครั้งในหนึ่งชั่วโมง คนไข้เพลียมาก (อาจเป็นโรคบิดอย่างรุนแรง)
    8.  สำหรับเด็ก โดยเฉพาะอายุภายในสิบสองปี ไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียงผิดปกติ คล้ายๆ กับมีอะไรติดอยู่ในคอ บางทีก็มีอาการหน้าเขียวด้วย (อาจเป็นโรคคอตีบ) ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด
    9.  อาการตกเลือดเป็นเลือดสดๆ จากทางไหนก็ตาม โดยเฉพาะทางช่องคลอด ต้องพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

อ่านต่อ