การช่าง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงจำลองแบบเรือต่างๆ
ด้วยไม้ เช่น
เรือรบหลวงศรีอยุธยา
เรือใบ ตลอดจนเรือบิน
ต่อมาได้พระราชทานเรือรบหลวง
ศรีอยุธยาจำลองและเรือบินจำลองไปประมูลเพื่อการกุศล
เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านวิศวกรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น
จึงทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา
ณ มหาวิทยาลัยโลซานน์
ในแผนกวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาสหวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ในวันที่ ๙ มิถุนายน
พุทธศักราช ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานัทนมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน
รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูพลอดุลยเดช"
เนื่องจากมีพระชนมพรรษาเพียง
๑๙ พรรษา
รัฐบาลจึงได้แต่ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ซึ่งประกอบด้วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
กรมขุนชัยนาทนเรนทร
และพระยามานวราชเสวี
ต่อมาในเดือนสิงหาคม
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ได้เสด็จฯ กลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ
มหาวิทยาลัยแห่งเดิม
แต่ทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาใหม่
ให้เหมาะกับที่จะต้องทรงรับพระราชภาระในฐานะประมุขของประเทศ
โดยทรงศึกษาวิชากฏหมายและวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาในแผนกวิทยาศาสตร์ที่รงศึกษาอยู่เดิม
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้ว
ได้เสด็จฯ
นิวัติประเทศไทยอีกครั้ง
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี
ในวันที่ ๕ พฤษภาคม
พุทธศักราช ๒๔๙๓ ณ
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
ในพระบรมมหาราชวัง
เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฎว่า
" พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร"
พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชโองการว่า
"
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
"
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน
พุทธศักราช ๒๔๙๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งการมหาพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร
ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตมงคล
กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว
กิติยากร
มีพระราชโอรสและพระราชธิดา
๔ พระองค์ คือ
๑.
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ ๕
เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔
๒.
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒๘
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕
ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๕
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ์
สยามมกุฎราชกุมาร
๓.
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒
เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘
ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๒๐
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร
รัฐสีมาคุณานุกรปิยะชาติ
สยามบรมราชกุมารี
๔.
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ ๔
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน
พุทธศักราช ๒๔๘๙
เป็นต้นมาจวบปัจจุบัน
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์
ระหว่าพุทธศักราช ๒๔๙๕ -
๒๕๐๑
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ
ไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ทำให้ทรงทราบถึงความทุกข์ยากของราษฎรที่เกิดจากปัญหาความยากจน
ความเจ็บป่วย
และขาดความรู้
ขาดการศึกษา
จึงทรงมุ่งมั่นที่จะทรงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
พออยู่พอกิน
และสามารถเลี้ยงตัวเองได้
อันเป็นที่มาของโครงการส่วนพระองค์และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่ในปัจจุบันมีจำนวนมากว่า
๒,๔๐๐ โครงการ
กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ
ทั้งในเขตชนบทและเขตในเมืองใหญ่
ในการพัฒนาเพื่อให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำความรู้ทางสาขาวิทยาศาสตร์ที่ทรงพระปรีชาสามารถตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์
และเทคโนโลยีในทุกสาขาวิชา
มาใช้ในการพัฒนาทุกด้าน
ทั้งเทคโนโลยีชั้นสูง
และเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับใช้อย่างง่ายๆ
ราษฎรสามารถเรียนรู้
เข้าใจ
และนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง
|