ดอกไม้ทะเลเหล่านี้ต้องอยู่ในน้ำตื้น
เนื่องจากมีสาหร่ายกลุ่มซูแซนธาลลี่
(zooxanthallae)
ที่มีขนาดเล็กอาศัยอยู่ภายในเซลล์ของหนวดและกรวยปาก
โดยสาหร่ายเหล่านี้สามารถสังเคราะห์แสงและเป็นแหล่งที่ให้พลังงานกับตัวดอกไม้ทะเล
ดังนั้น
ดอกไม้ทะเลแต่ละตัวจึงต้องพยายามแผ่ลำตัวให้กว้างที่สุดเพื่อให้สาหร่ายสามารถรับแสงได้มากที่สุด
อาวุธที่สำคัญของดอกไม้ทะเลคือเข็มพิษที่เรียกว่า
นีมาโตสิสท์
(nematocyst)
ซึ่งจะอยู่ตามบริเวณหนวดใช้สำหรับป้องกันตัวและจับเหยื่อ
การที่ปลาการ์ตูนไม่เป็นอันตรายนั้น
เนื่องจากดอกไม้ทะเลต้องสร้างเมือกบางชนิดออกมาเพื่อป้องกันตัวมันเองจากเข็มพิษที่มันปล่อยออกมาเช่นกัน
ปลาการ์ตูนจะว่ายไปที่ฐานของดอกไม้ทะเลแล้วเอาลำตัวถูกับเมือกเหล่านี้ให้ติดตัว
ทำให้เข็มพิษไม่สามารถทำอันตรายได้
การอาศัยร่วมกันของสามเกลอในธรรมชาติ
ปลาการ์ตูน
ดอกไม้ทะเลและสาหร่ายซูแซนธาลลี่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
โดยปลาการ์ตูนเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมหวงถิ่น
มันจึงช่วยไล่ปลาผีเสื้อปากยาวที่ชอบมากินดอกไม้ทะเล
ในขณะเดียวกันมันก็จะหลบภัยจากสัตว์อื่นโดยว่ายเข้าไปอยู่บริเวณหนวดของดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษเป็นอาวุธ
ส่วนสาหร่ายนั้นจะทำการสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตน้ำตาลและกรดอินทรีย์ให้กับดอกไม้ทะเล
ในขณะเดียวกันดอกไม้ทะเลจะผลิตกรดอะมิโนที่สาหร่ายนำไปใช้ประโยชน์ได้
ปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเล
ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะอาศัยดอกไม้ทะเลต่างชนิดกัน
แต่ดอกไม้ทะเลไม่ทุกชนิดที่มันจะใช้อาศัยได้
ปลาการ์ตูนบางชนิดสามารถอยู่กับดอกไม้ทะเลได้หลายชนิด
แต่บางชนิดก็สามารถอยู่ได้เพียงชนิดเดียว
ขึ้นกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาที่ดอกไม้ทะเลอาศัยอยู่
จากการศึกษาปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเลที่มันอาศัยบริเวณเกาะขามและเกาะครามโดยสุหทัย
ไพรสานฑ์กุลในปีพ.ศ. ๒๕๔๔
พบปลาการ์ตูน ๑ ชนิดคือ
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล
๒ ชนิดคือ ชนิด
Heteractis magnifica
และชนิด
Stichodactyla gigantea
จัดอยู่ในครอบครัวสตีโคแด๊คทิวลีดี้
(ภาพชุดที่ ๕ และภาพที่ ๖)
|