จุลสารของชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ
อพ.สธ. ซึ่งอยู่ในมือท่านนี้
นับเป็นฉบับที่ 1
ซึ่งสำเร็จขึ้นได้ในเวลาที่เหมาะสม
หลังจากชมรมฯ
ได้จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้แล้วเป็นเวลา
3 ปี ตั้งแต่ปี 2544
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมโยง
สื่อสาร
ในมวลสมาชิกที่อยู่ในชมรมและผู้สนใจโดยทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อติชม
ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ
ความร่วมมือในการผลักดันงานของชมรมฯ
ให้ดำเนินไปยังข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
จุลสารฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหา
สาระต่างๆ
โดยเริ่มจากประธานชมรมท่านแรกจะเป็นผู้เกริ่นนำบรรยายอย่างน่าสนใจถึงที่มาที่ไปของชมรา
และกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สมาชิก
และเมื่อชมรมได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประสานงาน
สร้างความร่วมมือ ร่วมใจ
กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ทางโครงการฯ
จึงได้มาบอกกล่าวเป็นบทความถึงความผูกพันการทำงานร่วมกันระหว่างชมรมฯ
และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ต่อมาจึงเล่าสู่กันฟังในเรื่องการสำรวจและวิจัย
ในลักษณะการทำงานร่วมกัน
จากอาสาสมัครหลายฝ่า
เริ่มต้นด้วยเรื่องการศึกษาชีววิทยาของแย้เพื่อการอนุรักษ์และการคืนสู่ธรรมชาติบนเกาะแสมสาร
แล้วจึงมาถึงเรื่องความหลากหลายของชนิดไดอะตอมทะเล
ณ เกาะช้าง และเรื่องแรดิโอลาเรียน
ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ
สุดท้ายจะเป็นกบหนอง
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง
ที่พบในพื้นที่การสำรวจของโครงการฯ
บทความเหล่านี้จะทำให้ท่านได้ทราบถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่ศึกษาและประวัติความเป็นของพื้นที่ทำการสำรวจวิจัย
รวมถึงวิธีการสำรวจการวิจัย
ด้วยสัจจะเป็นสำคัญ
จึงมีความสุขยิ่งที่ได้ทำหน้าที่จนผลิตจุลสารฉบับแรกนี้ได้สำเร็จตามที่รับไว้
แต่ด้วยความสำนึกเสมอว่างานที่ทำนี้เป็นเพียงการริเริ่ม
ซึ่งการเริ่มต้นย่อมมีความบกพร่องบ้าง
มีความไม่สมบูรณ์บ้าง
จึงขอน้อมรับไว้ทั้งหมด และสุดท้าย
ด้วยความไม่ยึดติด
จึงเชื่อว่าบรรณาธิการท่านต่อไป
จะสามารถผลิตจุลสารฉบับที่สองได้ดียิ่งกว่านี้แน่นอน
เพื่อการมีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริแห่งการอนุรักษ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ให้ดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ
จุฬาลักษณานุกูล
บรรณาธิการ
|