ลักษณะ
:
หญ้าฝรั่นเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน
ซึ่งมีลักษณะเป็นหัวคล้ายหัวเผือก (Corm) ใบยาวแคบ
ออกดอกในฤดูใบไม้ร่วง โดยก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน
ลักษณะดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว กลีบดอกเรียวยาวคล้ายรูปไข่ มีเกษรขนาดยาวโผล่พ้นเหนือดอก
เกษรตัวเมียมีสีแดงเข้ม ดอกอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
การเก็บดอกหญ้าฝรั่นนั้น ควรเก็บเมื่อดอกเริ่มบาน ส่วนที่นำมาใช้คือเกษรตัวเมีย
โดยเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งโดยการย่างบนเตาถ่านเพื่อให้เสียน้ำ
ซึ่งดอกหญ้าฝรั่น 100,000 ดอก จะให้เกษรตัวเมียที่แห้งหรือหญ้าฝรั่นประมาณ
1 กิโลกรัม หญ้าฝรั่นจึงมีราคาแพงมาก เท่าราคาทองคำเลยทีเดียว
ประเทศไทยยังไม่มีการปลูกหญ้าฝรั่น
ประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกคือ สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศล อิหร่าน
อินเดีย
ประโยชน์ : ทางยา เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับระดู
แก้อาการเกร็ง และระงับความเจ็บปวด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
แก้อาการปวดท้องเพราะเลือดคั่งหลังจากการคลอดบุตร
และใช้เป็นยาบำบัดโรคมะเร็ง เกษรตัวเมียที่แห้งแล้ว
ใช้ประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร เช่น ขนมหวาน ลูกกวาด
เครื่องดื่มและเหล้า
|