|
|||||||||||||||||||||||
กลุ่มยารักษาเบาหวาน |
|||||||||||||||||||||||
กระแตไต่ไม้ |
|||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J.Sm. |
|||||||||||||||||||||||
วงศ์ : POLYPODIACEAE |
|||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์) |
|||||||||||||||||||||||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เฟิร์นอิงอาศัย
เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า
มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม.
ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว
มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง
10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ
เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ
ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น
ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา
ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม.
รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน
แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ
เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น
เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่
เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก |
|||||||||||||||||||||||
สรรพคุณ :
วิธีใช้ : ใช้ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้ ต้มรับประทาน |
|||||||||||||||||||||||