หอยที่ใกล้เคียงกับหอยทากและดูว่าการติดอยู่บนเกาะยังเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาประชากรและพันธุกรรม
คือหอยโข่ง (apple snail)
การศึกษาวิจัยที่เกาะช้างและเกาะกูด ปี พ.ศ.
2544-2546 ได้พบประชากรของ หอยโข่งพันธุ์ท้องถิ่น (native
species) ชนิด
Pila permei ยังคงดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ
ในขณะที่บนแผ่นดินใหญ่เกือบทุกแห่งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ถูกรุกรานโดย หอยเชอรี่ Pomacea canalicuculata
จนกล่าวกันว่าในหลายพื้นที่หอยโข่งธรรมชาติสกุล Pila
ได้สูญพันธุ์ไปอย่างสิ้นเชิง
ในเกาะหลายแห่งเริ่มพบการระบาดของหอยเชอรี เช่น เกาะเสม็ด
จังหวัดระยอง เกาะพีพี จังหวัดกระบี่
จากการนำเข้าไข่หอยไปกับพืชผัก
ในขณะที่เกาะช้างและเกาะกูดยังถือว่าเป็น เขตปลอดหอยเชอรี
ก็ว่าได้
ดูเหมือนว่าสิ่งมีชีวิตบนเกาะหลายแห่งกำลังอยู่ในสภาพเสื่อมสลาย
อันเนื่องมาจากการแยกตัวจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน
ปัจจัยจำกัดบนเกาะ หรือการผสมพันธุ์ในสายเลือด
อาจทำให้ถึงจุดที่สัตว์หลายชนิดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์และมนุษย์เองอาจเป็นตัวเร่งทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้
ข้อมูลที่สำคัญเช่นลักษณะของประชากร พฤติกรรมการเคลื่อนที่
ตลอดจนอัตราการเจริญเติบโต ไปจนถึงอายุ ยังไม่มีผู้ใดทราบมาก่อนเลย
ดังนั้นการกู้วิกฤติต่างๆ ที่ไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานเลย
ก็จะทำให้ไม่เกิดมรรคผล ใดๆ การศึกษาลักษณะประชากรของหอยชอคโกแลตด้วยวิธีติดเครื่องหมาย
และตรวจติดตาม (Mark and Recapture
Method)
จึงถูกนำมาศึกษาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2544 ณ เกาะอีร้า
หอยมากว่า 500 ตัว ทั้งตัวเต็มวัยและวัยรุ่น ถูกทำเครื่องหมาย
ขึ้นทะเบียนมีบัตรประจำตัวให้ไว้ทุกตัว
แล้วทำการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด มาเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี
ได้พบว่าหอยส่วนมากยังคงอยู่ในบริเวณเดิม
อยู่ที่ต้นไม้ต้นเดิมมากว่ากว่าครึ่งหนึ่งของที่ปล่อยไป
หอยจำนวนหนึ่งมีการล้มหายตายจากไปตามวัฎจักรแห่งชีวิต
ที่สำคัญพบเช่นกันว่า ซากหอยที่ตายนั้นยังอยู่ที่ต้นไม้ต้นเดิมมาก |