หน้า  1  2  3  4 

 

3
 

 

          พู่กันหรือแปรง  พู่กันหรือแปรงที่ทำมาจากตัว Sable (สัตว์ชนิดหนึ่งมีขนยาวอาศัยอยู่ในแถบหนาว) เป็นพู่กันที่มีคุณภาพดีที่สุด และราคาแพงที่สุด คุณภาพดีกว่าพู่กันที่ทำมาจากขนมิ้ง ไซบีเสียเสียอีก หรือถ้าจะประหยัดค่าใช้จ่ายก็อาจใช้พู่กันที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ หรือพู่กันที่ทำมาจากขนมิ้งผสมกับใยสังเคราะห์ก็ได้ คุณสมบัติของพู่กันที่ดี คือสามารถดูดซึมน้ำได้มาก  มีปลายแปลม สามารถเขียนเส้นที่คมชัด และที่สำคัญ ต้องทนทาน ทั้งนี้ต้องรู้จักดูแลพู่กันให้ถูกต้องด้วย
          เมื่อดิฉันวาดภาพ ดิฉันมักจะใช้พู่กัน 2-3 อัน ในการวาดแต่ละครั้ง เวลาใช้พู่กันดิฉันจะไม่จุ่มแช่พู่กันทิ้งไว้ในน้ำ จะล้างสีออกทุกครั้งที่เปลี่ยนสี เพื่อให้สีเกิดความกลมกลืนในภาพนั้นเมื่อเราใช้พู่กันเสร็จแล้วต้องล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดเสมอ  และควรบิดม้วนบริเวณปลายขนเล็กน้อย เพื่อรักษาสภาพขนให้แหลมคมเมื่อล้างเสร็จ ควรหาวัสดุมาครอบปิดพู่กันส่วนขนไว้เพื่อป้องกันความเสียหายและกันฝุ่นละออง โดยการตัดหลอดพลาสติก เป็นท่อนๆ แล้วครอบปลายพู่กันไว้ พู่กันเก่าที่ไม่ใช้แล้วอย่าทิ้ง เราสามารถนำพู่กันนั้นมาใช้ผสมสีได้
          พู่กัน  ที่ดิฉันชอบใช้ที่สุดคือ พู่กันของ Winsor & Newton series 7 มีขนาดตั้งแต่ 000 ถึง เบอร์ 6  ส่วนพู่กันอื่นๆ ที่คุณภาพพอใช้ได้ก็คือ  Isabey 6227Z , Raphael Kolinsky sable , Raphael synthetic และ W&N series 12
          โถน้ำ  อาจะเป็นเหยือก แก้วน้ำ ขวดแยมใช้แล้วหรือโถน้ำ หรือสิ่งใดก็ได้ที่เป็นแก้วใสโปร่งแสง ทำให้เราสามารถเห็นสีของน้ำที่บรรจุอยู่ภายใน  เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าควรเปลี่ยนน้ำหรือยัง  เราควรใช้โถน้ำสองโถ  โถแรกสำหรับใส่น้ำล้างสีเวลาเปลี่ยนสี  อีกโถนั้นสำหรับใส่น้ำล้างพู่กันสุดท้ายและในกรณีที่ฉุกเฉินที่เราต้องการน้ำสะอาด
          แผ่นผสมสี  (หรือจานสี)  สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านเครื่องเขียน อาจใช้จานกระเบื้องสีขาวก็ได้ แนะนำว่าควรใช้สีขาวเป็นพลาสติก หรือกระเบื้อง หลังจากที่เขียนภาพเสร็จ สีที่บีบเหลือไว้สามารถเก็บไปใช้ในครั้งต่อไป เพียงแค่ใส่น้ำลงไปก็ใช้ได้แล้ว แต่ควรระวังตอนเก็บ ควรเก็บไว้หรือครอบให้ปลอดฝุ่น ปัจจุบันมีขายเป็นกล่องพลาสติกเล็กๆ สะดวกและสามารถปิดฝากนฝุ่นได้
          ยางลบ  ควรใช้ยางลบที่มีคุณภาพดี คือลบแล้วไม่มีขุยสกปรกเลอะเทอะ เนื่องจากความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ ใช้ยางลบแล้ว ควรหาถุงพลาสติกเล็กๆ เก็บยางลบไว้กันไม่ให้ฝุ่นเกาะสกปรกเสมอ (Kneadale eraser  คือยางลบที่สามารถปั้นเป็นลักษณะต่างๆ ที่ต้องการ)
          กระดาษทิชชู  ใช้สำหรับซับสี  พู่กันและสีที่เปื้อน หรือซับสีให้จางลง และเราอาจวางกระดาษทิชชูไว้รอบๆ งานของเรา เพื่อป้องกันน้ำกระเด็น กระดาษที่ใช้ควรเป็นกระดาษทิชชูสีขาวล้วนอย่างหนาชนิดที่ใช้ในห้องครัว
          แว่นขยาย  เพื่อขยายวัตถุให้เห็นชัดเจนขึ้น อาจเป็นแว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์ก็ได้ ในกรณีที่วัตถุนั้นมีขนาดเล็กมากๆ
          กระดาษลอกลาย (Tracing Paper) ท่านที่เป็นอาจารย์ และใช้แผ่นใสสอนหนังสือ สามารถใช้กระดาษฝ้าที่คั่นแผ่นใสมาเป็นกระดาษลอกลายได้ โดยไม่ต้องหาซื้อ  สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้  แต่ถ้าต้องการใช้มี 2 วิธีคือ
          วิธีที่หนึ่งสำหรับภาพร่างที่มีรายละเอียดมาก นำภาพร่างด้วยดินสอเสร็จแล้ว นำกระดาษลอกลายมาวางทับลงบนภาพต้นแบบแล้วใช้ดินสด HB ลอกลาย ต่อมาใช้ดินสดฝนทั้งแนวตั้งและแนวนอน ลงในกระดาษลอกลายด้านตรงข้ามกับที่ลอกแบบไว้  และใช้กระดาทิชชูเกลี่ยให้ความดำของดินสดที่ฝนเนียนเท่ากันตลอดทั้งแผ่น  เสร็จแล้วนำกระดาษลอกลายแผ่นนั้นติดทับลงบนกระดาษวาดภาพที่เตรียมไว้แล้วจึงลอกลายลงไปบนกระดาษที่จะระบายสีอีกครั้ง
          วิธีที่สองสำหรับภาพวาดที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก หลังจากที่ลอกลายเส้นด้วยดินสอ H  หรือ HB  จากต้นแบบแล้ว ก็กลับด้านลอกลายแล้วใช้ดินสอที่เข้มขึ้น เช่น B เขียนลากเส้นด้านหลังแล้วจึงนำไปวางลงบนกระดาษที่จะใช้ระบายสี แล้วใช้ดินสอ H หรือดินสอลอกลายลงอีกครั้ง