-9-

 

 
     
 

                                 Pandanaceae วงศ์เตย ไม้ต้น ไม้พุ่มหรือไม้เถา มักมีเหง้า คล้ายพวกหมากหรือปาล์ม มักแยกแขนง พบทั่วไป แต่มีมากตามชายป่าพรุและป่าดงดิบ ใบเดี่ยว เรียวยาวติดเรียงเวียนถี่ๆ 3 แนวขอบใบมักมีหนามแหลมคม โคนใบเป็นการโอบลำต้น ดอกแยกเพศ ออกรวมเป็นช่อเชิงลด มีกาบเล็กทำหน้าที่เป็นกลีบดอกรองรับเกสร 3-4 พู เกสรเพศผู้มีมาก ผลแบบผลกลุ่ม เรียงชิดเป็นกลุ่มโต คล้ายผลสับปะรด มี :- Pandanus furcatus Roxb. เกี๋ยงป่า, P. humilis Lour. เตยหนู, เตยหอม, P. kaidus Kurz เตย, เตยสานเสื่อ, P. militaris Parkin. เตยพรุ, P. odoratissimus L.f. เตยทะเล, ลำเจียก, P. tectorius Blume การะเกด, เตยด่าง

 
 

 



Pandanus  militaris Pandanus  militaris Pandanus  odoratissimus
     

                                Pontederiaceae วงศ์ผักตบไทย พืชน้ำ อาจลอย หรือเลี้อยทอดตามดินเลนที่มีน้ำท่วมขังทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงเป็นกระจุกซ้อน หรือแผ่สองข้างในแนวระนาบหรือเรียงเวียนเป็นกลุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศ ออกรวมเป็นช่อลดรูป ช่อกระจะหรือพุ่มแยกแขนง กลีบดอกมี 3-6 กลีบ โคนติดเป็นหลอด เกสรเพศผู้มักมีจำนวนเท่ากับกลีบดอก ผลแบบแตกกลางพู มี :- Monochoria hastata (L.) Solms ผักตบไทย, M. vaginalis (Burm.f.) C. Presl. ex Kunth ผักเขียด
                                Smilacaceae วงศ์เขือง-ข้าวเย็นเหนือ ไม้เถาและไม่พุ่ม มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นและเถามีหนามแข็ง พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเหล่า ป่าดิบเชิงผา ใบเดี่ยว เรียงเวียน และมักมีมือเกาะเป็นคู่ตามโคนก้านใบ ดอกมักแยกเพศ ออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นดอกเล็กๆ ตามง่ามใบ กลีบรวมมี 3-6 กลีบ เกสรเพศผู้เท่ากับกลีบรวม ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด มี :- Heterosmilax indica A. DC. ข้าวเย็นบูรพา, H. pertenuis (T. Koyama) T. Koyama หัวข้าวเย็นเหนือ; Smilax perfoliata Lour. กำลังควายถึก
                                Taccaceae วงศ์เท้ายายม่อม พืชล้มลุก อวบน้ำ มีหัวใต้ดินอาจมีลำต้นสูงขึ้นมาหรือไม่ปรากฏ พบตามป่าชายหาด และป่าดิบชื้น ใบเดี่ยวหรือแยกเป็น 2 กลุ่ม ขอบใบเรียบหรือเป็นริ้ว ดอกสมบูรณ์เพศ ออกรวมเป็นช่อกระจุกเชิงช่อประกอบแบบซี่ร่ม เหนือวงใบประดับ กลีบดอก 3-6 กลีบ และมีใบประดับย่อยเป็นเส้นห้อยย้อยลงหลายเส้น เกสรเพศผู้เท่ากับกลีบดอก ผลแบบผลแห้งแตกกลางพู มี :- Tacca chantrieri André เนระพูสีไทย, T. integrifolia Ker Gawl. ว่านพังพอน, T. leontopetaloides (L.) Kuntze เท้ายายม่อม

     


Tacca  chantrieri Tacca  leontopetaloides Tacca  leontopetaloides
 

                            Zingiberaceae วงศ์ขิง-ข่า พืชล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าหรือหัวใต้ดิน  ส่งลำต้นเทียม และช่อดอกขึ้นมา พบตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเหล่า และป่าเชิงผาที่ชุ่มชื้น ใบเดี่ยวแบบขนนก เรียงเวียน โคนใบเป็นกาบหุ้มกันเป็นแท่งคล้ายลำต้น ดอกสมบูรณ์เพศ เป็นดอกผิดปกติ อาจเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อกระจุกตามง่ามกาบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3 กลีบ มักแผ่ไปทางเดียวกัน ปลายกลีบกลางมักหยักและใหญ่กว่ากลีบอื่น โคนกลีบมักติดเป็นหลอด ผลอาจเป็นผลสดหรือแห้งแตกกลางพูหรือไม่แยก มี :- *Alpinia macroura K. Schum., *A. oxymitra K. Schum. หลาว; *Amomum hirticalyx K. Schum.; Costus speciosus (Koen.) Sm. เอื้องหมายนา; Curcuma aromatica Salisb. ว่านนางคำ; *Elettariopsis schmidtii K. Schum. ปุด; Etlingera punica (Roxb.) R.M. Sm. ปุดแดงใบใหญ่; Globba fasciata Ridl. ปุดใบเงิน