เหลืองปรีดิยาธร
เหลืองอินเดีย
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tabebuia arentea   Britt.
วงศ์ :  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ :  Silver Trumpet Tree, Tree of Gold
ชื่ออื่น : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 8 เมตร ผลัดใบ ลำต้น เรือนยอดรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง กิ่งก้านแตกเป็นชั้น ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือสอบ ใบเหลือบสีเงินทั้งสองด้าน  ดอก ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อกะจุกแน่นที่ปลายกิ่ง 7-15 ดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม  ผล เป็นฝัก สีเทา มีเส้นสีดำ
นิเวศวิทยา
:  มีถิ่นกำเนิดในประเทศปารากวัย อาร์เจนตินา และบราซิล
ขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ด


 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tabebuia chrysantha  (Jacq.) G.Nicholson
วงศ์ :  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ : Golden Tree
ชื่ออื่น :  -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-20 เมตร ลำต้น เรือนยอดรูปร่างไม่แน่นอน เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมน  ใบอ่อนมีขนนุ่ม  ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อ ช่อละ 3-10 ดอก กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีน้ำตาลมีขน  กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปแตร ปลายแยก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2  โคนก้านมีขน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน  
นิเวศวิทยา
:  มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกตอนเหนือ ถึงเวเนซูเอล่า
ขยายพันธุ์
ด้วยการตอน


 

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด  ระหว่างเหลืองปรีดิยาธร และเหลืองอินเดีย คือ ใบของเหลืองปรีดิยาธรเหลือบสีเงินเห็นเด่นชัด และรูปร่างใบย่อยมีลักษณะแตกต่างกันกับเหลืองอินเดีย

HOME