1    2

   

           นกเป็นสัตว์ที่มีความสวยงาม  มีเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์ในตัวเองที่แตกต่างกันไป  เท่าที่ศึกษากันมาคาดว่ามีนกอยู่ในโลกประมาณ 9,000 ชนิด ในประเทศไทยมีประมาณ 917 ชนิด  ใน 89 วงศ์  เป็นนกที่มีการผสมพันธุ์ในประเทศ 638 ชนิด มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศ 167  ชนิด นกอพยพ 23  ชนิด และที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 93 ชนิด นกที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด  คือ พวกที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มทั้งในป่าและแหล่งน้ำต่างๆ
          นกที่อาศัยตามชายฝั่งทะเลและนกในป่าชายเลนที่พบโดยทั่วไปจะกินพืชและสัตว์น้ำเป็นอาหาร  ลักษณะเด่นคือ มีขายาว คอยาว จงอยปากยาว เพื่อสะดวกในการหาอาหาร เช่น เหยี่ยวแดง (
Brahminy kiet : Haliastur indus )  นกกินเปี้ยว


x
นกกระแตแต้แว๊ด อุทยานแห่งชาติหาดวนกร

( Collared  kingfisher : Halcyon chlorisนกหัวดตขาดำ  (Kentish plove : Charadrius alexan drinus ) นกหัวโตขาเหลือง ( Luttke rubged plover : C. dubius )  นกเด้าดิน (Common sandpiper : Actites hypoleucos )  นกเลนชายฝั่ง  (Marsh sandpiper : Tringa stagnatilis )  นกทะเลขาแดงธรรมดา  (Common redshank : T. Totanus )  นกอีก๋อยเล็ก  (Whimbrel : Numenius phoeopus )  นกนางนวลธรรมดา (Brown-headedgull : Larus bounnicephalus )
          ในประเทศไทยนกชายฝั่งที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด หนึ่งจำนวนนั้น คือ นกชาปีไหน (Nicobar pigeon : Caloenas nicobarica ) เป็นนกประจำถิ่นอยู่ในวงศ์นกเขา มีขนาดใหญ่กว่านกเขาทั่วไป หางสั้นขนสีเขียวแก่เลื่อม หางสีขาว ในประเทศไทยถือว่าพบเห็นได้ยาก แต่จะพบอยู่ ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา
          คนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่า นกเป็นเพียงสิ่งประดับในธรรมชาติ ซึ่งให้ความสวยงามเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว นกมีบทบาทสำคัญมากต่อการการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพวกพืชและต่อการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ  ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การเป็นผู้ผสมเกสรดอกไม้ กระจายเมล็ดพันธุ์ และการเป็นทั้งเหยื่อและผู้ล่าของห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาตินั่นเอง  นอกจากความสำคัญของนกที่มีต่อธรรมชาติและระบบนิเวศแล้ว  นกยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์เราทางด้านจิตใจอีกด้วย  เนื่องจากความหลากหลายของชนิด  ความงดงามของสีสัน ความน่ารักของพฤติกรรมและท่าทางของนก  ทำให้กิจกรรมการดูนกเป็นที่สนใจและรื่นรมย์ของผู้คนที่ได้มีโอกาสพบเห็น นกจึงเป็นเสมือนชนวนจุดประกายกระแสความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดี
          ตัวอย่างเช่นการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในธรรมชาติ เกิดจากกระแสความต้องการปกป้องพื้นที่พักอาศัยของนก ซึ่งอพยพจากดินแดนหนึ่งไปยังอีกดินแดนหนึ่งตามฤดูกาลโดยไม่คำนึงว่า ดินแดนที่ตนอพยพไปนั้นอยู่ในเขตแดนของประเทศใด  จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ  เรียกว่า อนุสัญญาแรมซาร์  หรือ 
RAMSAR CONVENTION  ซึ่งมีกำหนดมาจากการประชุมที่เรียกว่า  Convention on Wetlands of International Importance Especially as Waterfowl Habitat นั่นเอง



ทุ่งสามร้อยยอด อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

          แหล่งพักอาศัยของนกน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย คือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด  บริเวณทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่เศษ นอกจากการเป็นแหล่งพักพิงของนกน้ำอพยพนานาชนิดแล้ว ยังเป็นที่พันธุ์หาอาหารและอยู่อาศัยของนกประจำถิ่นและสัตว์น้ำจืดที่อาศัยอยู่อีกมากมายหลายชนิด การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติ  จึงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาแรมซาร์
          อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำอีหลายแห่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันนี้ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจที่จะดูแลรักษาและปกป้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง และแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้กำลังถูกกระแส

การพัฒนาประเทศ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมากมายกว่าการเก็บพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านั้น ไว้สำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยของนกและสัตว์น้ำอื่นๆ  ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรแบ่งปันผืนดินบนโลกให้กับนกและสัตว์เหล่านั้นบ้าง

อ่านต่อ