ลักษณะ :
ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้
ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ
กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง
ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า ดอกช่อ
สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ประโยชน์ด้านกำจัดแมลง :
ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อาทิ แมลง
แมลงสาบ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ไล่ยุง
การนำไปใช้: ภายในหัวตระไคร้หอมจะมีสารพวก Verbena
oil, lemon oil, indian molissa oil
ซึ่งมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลง ยุง และแมลงสาบ
รวมทั้งยังกำจัดหนอนกระทู้ และหนอนใยผัก ได้อีกด้วย
วิธีใช้ :
นำเหง้าและใบตะไคร้หอม มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำมาผสมน้ำ 10 ลิตร
แช่ทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบเช่น
สบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นกำจัดหนอน
ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง
อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน
ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน
ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1
ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ
หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม
มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง
ปัจจุบันมีการนำตะไคร้หอมมาผลิตเป็นโลชั่นกันยุง
ในส่วนขององค์การเภสัชกรรมได้มอบทุนให้แก่ รศ.ดร. พิมลพรรณ
พิทยานุกูล วิจัยและพัฒนาตำรับยาทากันยุงน้ำมันตะไคร้หอม
โดยใช้ ความเข้มข้น 6% สามารถป้องกันยุงกัด ได้นาน 4-5
ชั่วโมง โลชั่นกันยุงนี้เป็นการนำ สมุมไพรมาพัฒนาเป็นตำรับป้องกันยุง
ที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ช่วยลด
มลภาวะในอากาศ และยังช่วยลด การนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ
สารสำคัญ: น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย d-citronellal
และ geraniol ซึ่งมีคุณสมบัติแต่งกลิ่นน้ำหอม
และใช้ไล่แมลง
Components Identified: |
1)
limonene (3.0%); 2) linalool (0.8%); 3)
citronellal (35.3%); 4) citronellol (12.0%); 5)
geraniol (24.9%); 6) citronellyl acetate (4.3%);
7) geranyl acetate (6.3%) |
|