ย้อนกลับ

 








 

ป่านรามี

ชื่อวิทยาศาสตร์
Boehmeria nivea   (L.) Gaudiich.
วงศ์
Urticaceae
ชื่อสามัญ :
Chinese grass, China grass, Chinese grass cloth plant, chinese silkplant, ramie, rhea.
ชื่ออื่น : กะเมย (เขมร-พระตะบอง) ตานขโมย (จันทบุรี) ปอบอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปอป่าน (ภาคกลาง) ป่านแดง

ลักษณะ : ลำต้นเรียวเล็ก ในสภาพปลูกที่เหมาะสมอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้นประมาณ 8-16 มิลลิเมตร และมีความสูงประมาณ 2-2.5 เมตร เมื่อมีอายุ 45-60 วัน ใบจะออกสลับบนต้น ลักษณะกลมใหญ่ ขอบใบหยัก มีก้านยาว ผิวใบด้านบนมีสีเขียว และมักลักษณะออกสีขาวด้านใต้ใบ มีดอกขนาดเล็ก มีขาวอมเขียวเล็กน้อย ดอกออกเป็นกลุ่ม จัดเป็นพืชผสมข้าม พืชจะผลิตเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะกลม และขนาดเล็กมาก
ประโยชน์ : เส้นใยป่านรามีบางครั้งเรียก rhea fiber ส่วนของเส้นใยได้มาจากส่วนในของเลือกลำต้น เส้นใยติดเปลือกเป็นที่ทราบกันทั่วไปในนามของ China grass ดังนั้น ผลผลิตทีได้จากเส้นใยของป่านรามีจึงมักเรียกกันว่า grass linen เส้นใยป่านรามีจัดเป็นเส้นใยธรรมชาติที่เหนียวที่สุด มีลักษณะเป็นมันคล้ายไหมมีเหลืองอ่อน (เส้นใยจะมีสีขาวเมื่อฟอกด้วยสารฟอกสี) สามารถดูดความชื้นและคลายความชื้นได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นน้อย ต้านทานต่อการหดตัว การผุ และไม่ยับ เหมาะที่จะใช้ทำสิ่งทอเพื่อเป็นเครื่องใช้ในบ้านและอื่นๆ ใช้ผสมกับขนสัตว์ในอัตราส่วนประมาณ 25 เปอร์เซนต์ จะช่วยทำให้ผ้าขนสัตว์ไม่หดและเรียบ และเมื่อผสมกับเส้นใยสังเคราะห์โพลีเยสเตอร์ (polyester) ประมาณ 35 เปอร์เซนต์ จะได้ผ้าที่สวมใส่สบายในสภาพอากาศร้อนและต้านทานต่อการหักพับหรือรอยยับ ผ้าที่ทอจากเส้นใยป่านรามีอาจใช้ตัดเป็นเสื้อนอก เสื้อเชิ๊ต เสื้อชั้นใน เครื่องประดับในบ้าน ทำเชือก เส้นด้าย ผ้าใบ และผลผลิตทางอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมาก เช่น สายพานใช้หุ้มเส้นลวด เป็นฉนวนสายโทรศัพท์ ท่อดับเพลิง เครื่องบรรจุของต่างๆ โดยเฉพาะใช้ป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่แกนใบพัดท้ายเรือ โดยทั่วไปเส้นใยจากป่านรามีใช้ทำเครื่องนุ่งห่มและใช้ทำเครื่องบรรจุมากที่สุด ใบและยอดต้นป่านรามีใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อย่างดี และมีโปรตีนสูง
ที่มาของข้อมูล
:  หนังสือ พืชไร่ Guide for Field Crops in Tropics and  the Subtropics Samuel C.Litzenberger รวบรวม กฤษา สัมพันธารักษ์ ถอดความ