ลักษณะ :
ปอแก้ว
หรือ kenaf
เดิมหมายถึง
Hibiscus cannabinus เท่านั้น
แต่ปัจจุบันอาจรวามไปถึงพืชวพก
Hibicus sabdariffa
(โดยเฉพาะพวกที่เส้นใยมักเรียกว่า
H. sabdariffa
var.
altissima )
พืชทั้งสองชนิดมีชื่อพื้นเมืองต่างๆ กัน
เช่น mesta ,
Bimlipatam jute หรือ
Bimli roselle
(โดยเฉพาะพวกที่มีกิ่งแขนงสั้นๆ
และใช้ดอกเป็นอาหารได้) นอกจากนี้
อาจเรียก Siamese or
Thai jute, Java jute, teal, gambo,
papoula-de-sao-francisco
และจะยังอาจมีชื่ออื่นๆ อีก
ปอแก้วมีลำต้นตรงไม่แตกกอ สูงประมาณ 4
เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้นประมาณ
8-25 มิลลิเมตร
มักไม่มีกิ่งแกขนงเมื่อปลูกในระยะชิดกันเพื่อผลิตเส้นใย
พันธุ์ต่างๆ อาจมีสีของลำต้นต่างกัน เช่น
เขียว แดง หรือม่วง
ปอแก้วทั้งสองชนิดมีดอกสีเหลืองอ่อน
และมีสีม่วงแดงตรงกลางดอก
แต่อาจมีบางพันธุ์ซึ่งมีสีแตกต่างจากที่กล่าว
H.cannabinus
อาจมีใบแบบซิมเปิลลีฟ
หรือ พาลเมท ซึ่งจะออกสลับกันบนลำต้น
แต่ปกติแล้วใบที่ฐานจะเป็นแบบซิมเปิลลีฟ
ฝักมีลักษระทรงกระบอกและมีขน
มีเมล็ดประมาณ 18-20 เมล็ด ต่อฝัก
เมล็ดมีสีเทา ลักษณะคล้ายไต
มีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม ต่อ 35-40 เมล็ด
H. sabdariffa
มีดอกสีค่อนข้างเหลืองเข้มกว่าพวก
H. cannabinus
และมีขนาดเล็กกว่า
มีใบแบบพาลเมทค่อนข้างกลม
แต่ใบที่ฐานจะมีลักษณะเป็นแบบซิมเปิลลีฟ
ใบจะออกสลับกันบนลำต้น
เมล็ดมีสำน้ำตาลไหม้
มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 กรัมต่อ 60 เมล็ด
ประโยชน์ : ปอแก้วเป็นปอพื้นเมืองซึ่งปลูกกระจัดกระจายในแอฟริกาและอินเดีย
มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันตกของประเทศซูดานเป็นพืชให้เส้นใยที่ได้จากเปลือกของลำต้น
รู้จักกันดีในอียิปต์และอินเดียมาหลายศตวรรษแล้วต่อมาปลูกกันแพร่หลายในทวีปเอชีย
อเมริกาใต้และแอฟริกา ใช้เปลือกทำเส้นใย
สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ปอแก้วมักใช้แทนหรือปนกับเส้นใยจากปอกระเจาในการทอกระสอบ
ทำเชือก หรือพรม
หรือใช้ทำสิ่งทอในการหัตถกรรม
เทียบกับเส้นใยจากปอกระเจา
เส้นใยจากปอแก้วไม่สามารถทอให้เป็นเส้นเล็กๆ
ได้เท่ากับเส้นใยจากปอกระเจา
และถึงแม้ว่าปอแก้วจะมีลักษณะที่ดูดีกว่า
ราคาของปอแก้วมักจะต่ำกว่าเส้นใยจากปอกระเจาเล็กน้อย
ที่มาของข้อมูล : หนังสือ พืชไร่ Guide
for Field Crops in Tropics and the
Subtropics Samuel C.Litzenberger รวบรวม
กฤษา สัมพันธารักษ์ ถอดความ |