กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยารักษาโรคน้ำกัดเท้า

  เทียนบ้าน

 

  มังคุด

 

  สีเสียดเหนือ








 




 












 



















 

     

กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า

สีเสียดเหนือ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acacia catechu (L.f.) Willd.

ชื่อสามัญ  Catechu Tree} Cutch Tree

วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ชื่ออื่น :  สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด ขี้เสียด (ภาคเหนือ)  สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกล่าง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบาง เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นคู่อยู่ทั่วไป ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านแขนง 10-20 คู่  ใบย่อยเล็กมากเรียงกันแน่นอยู่บนแกนกลาง 30-50 คู่ ดอก เล็ก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแก่
ส่วนที่ใช้ :  
เปลือกต้น เมล็ดฝัก
       ก้อนสีเสียด (เป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ กรองและเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็ง สีดำและเป็นเงา

สรรพคุณ :

  • เปลือกต้น  - แก้บิด แก้ท้องร่วง  สมานแผล แก้ท้องเดิน

  • เมล็ดในฝัก -  ฝนแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมาน แก้อาการท้องเดิน
    ใช้ผงประมาณ 1/3 -1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3-1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

  • ก้แผลเรื้อรัง
    ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผล หัวนมแตก ใช้ล้างแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง น้ำกัดเท้า

  • แก้โรคหิด
    ใช้เมล็ดฝัก ฝนทาแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

สารเคมี

  • ทั้งต้น  พบ  Epicatechin

  • เปลือกต้น พบ Catechol, Gallic acid, Tannin

  • แก่น พบ  Catechin, Dicatechin

  • ใบ พบ  Catechin, Isoacacatechol, Tannins isoacacatechol acetate