กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง

  ทองพันชั่ง

 

  ผักคาวทอง

 

  แพงพวยฝรั่ง

 

  หญ้าปักกิ่ง



















































































































 

     

กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง

ผักคาวทอง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Houttuynia cordata Thunb.

วงศ์  Saururaceae

ชื่ออื่น :  คาวตอง(ลำปาง,อุดร) คาวทอง(มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง(แม่ฮ่องสอน) ผักเข้าตอง,ผักคาวตอง ผักคาวปลา(ภาคเหนือ) พลูคาว(ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็ฯช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี
ส่วนที่ใช้ : 
ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้  ช่อดอก ดอกย่อย  ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด

สรรพคุณ :

  • ทั้งต้น  - รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร
    พืชนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

  • ต้นสด - ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น

  • ใบสด - ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
    พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด

  • ดอก - ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง
    - ใช้พืชนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียวหรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้
    - นอกจากนี้มีผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องสำอางโดยใช้น้ำมันจากผักคาวทองเป็นครีม ทาแก้ผิวหนังหยาบกร้าน และใช้ป้องกันผิวหนังแตกเป็นร่อง ได้ผล 65% จากผู้ทดลองใช้ 35 ราย เครื่องสำอางนี้ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ 8% โปรโพลีนกลัยคอน 5% น้ำมันผักคาวทอง 10% กรดซีตริก 0.02% โซเดียมซีเตรท 0.2% เติมน้ำจนครบ 100%

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ทั้งต้น แห้ง 15-30 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม ก่อนต้มให้แช่น้ำไว้สัก 1-3 นาที ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที (ถ้าใช้ร่วมกับยาอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยานี้ต้มให้เดือด ดื่ม)
          ใช้สด ตำคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก

ตำรับยา

  • วัณโรคปอด อาเจียนเป็นเลือดหรือมีหนองปน
    ใช้ต้นแห้ง รากเทียนฮวยฮุ่ง (
    Trichosanthes kirilowii  Maxim) เจ็กแปะเฮี๊ยะ (Biota orientalis  Endl.) แห้ง อย่างะ 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม
    หรือ ใช้ต้นสด 30 กรัม คั้นเอาน้ำดื่มกับผักกาดดอง วันละ 2 ครั้ง

  • ปอดอักเสบ มีหนองในช่องปอด
    ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม กิ๊กแก้ (
    Platycodon grandiflorum  A.DC.) รากแห้ง 15 กรัม ต้มน้ำหรือบดเป็นผงผสมน้ำดื่ม

  • มะเร็งที่ปอด
    ใช้ต้นแห้ง 18 กรัม  ตังขุ่ยจี้ (
    Malva verticillata  L.) แห้ง 30 กรัม เหง้ายาหัว (Smilax glabra  Roxb.) แห้ง 30 กรัม กะเม็งตัวเมีย (Eclipta prostrata  L.) และ ปวงเทียงขิ่มเล้า (Cyathea spinulosa  Wall.) ทั้งต้นแห้งอย่างละ 18 กรัม และชะเอม 5 กรัม ต้มน้ำดื่ม

  • เป็นหวัด หลอดลมอักเสบ
    ใช้ต้นแห้ง เปลือกต้นเถ่าป๊ก (
    Magnolia officinalis  Rehd. et Wils.) แห้ง ผสมเหลี่ยงเคี้ยว (Forsythia suspensa Vahl.) แห้ง อย่างละ 10 กรัม บดเป็นผง และยอดต้นหม่อน (Morus alba  L.) สด 30 กรัม ต้มเอาน้ำ ชงยาผงนี้ ดื่ม

  • เป็นโรคปอด ไอ มีเหงื่อออกมาก
    ใช้ต้นสด 60 กรัม ใส่ในกระเพาะอาหารหมู ตุ๋นรับประทาน วันละชุดติดต่อกัน 3 วัน

  • บิด
    ใช้ต้นสด 20 กรัม เถ้าจากผลซัวจา (
    Crataegus pinnatifida  Bge. var. Major N.E.Br)  6 กรัม ต้มเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งดื่ม

  • หนองใน ตกขาวมากผิดปกติ
    ใช้ต้นสด 25-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

  • ริดสีดวงทวาร
    ใช้ต้นสด ต้มน้ำดื่ม จิบตามด้วยเหล้าเล็กน้อย แล้วเอากากพอก ให้รับประทานยานี้ติดต่อกัน 3 วัน หัวริดสีดวงจะค่อยๆ ยุบไป

  • โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
    ใช้ต้นสด คั้นเอาน้ำหยอดจมูกวันละหลายๆ ครั้ง และใช้ต้นสด 21 กรัมต้มน้ำดื่มด้วย

  • ฝีบวมอักเสบ
    ใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งพอกฝีที่ยังไม่มีหนอง จะยุบหายไป ฝีที่มี่หนองก็จะเร่งให้หนองออกเร็วขึ้น

  • ฝีเนื้อร้าย (Furancle)
    ใช้ต้นสดตำพอก จะปวดอยู่ 1-2 ชั่วโมง อย่าเอายาออก พอกยา 1-2 วัน อาการอักเสบลดลงและค่อยๆ หายไป

  • ผื่นคันที่อวัยวะเพศ ฝีที่บริเวณก้น
    ใช้ต้นสดต้มเอาน้ำชะล้าง

  • งูพิษกัด
    ใช้ต้นสด ใบชุ่ยฉิ่วเฮี๊ยะ (
    Sophora japonica  L.) สด เมล็ดชุมเห็ดไทย อย่างละเท่าๆ กัน ตำพอก

  • ผื่นคัน  ใช้ต้นสด ตำพอก

สารเคมี :
          ที่พบทั้งต้นที่ปลูกในญี่ปุ่นมีน้ำมันระเหย  0.0049% ประกอบด้วยสารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อคือ Decanoylacetaldehyde  และยังมี methyl - n - nonylketone, myrcene, lauric alldehyde, capric aldehyde, capric acid
          ที่ปลูกในจีนมีน้ำมันระเหย ประกอบด้วย Decanoylacetaldehyde dodecanaldehlyde,  2-undecanone, caryophyllene
α -pinene, camphene, myrcene, d-limonene, linalool และ bornyl acetate
          นอกจากนี้ยังมี โปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine
          ดอกและใบ  มีสารพวก flavone ประกอบด้วย  Quercirin, Isoquercitrin, quercetin, reynoutrin และ hyperin
          รากมีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย decanoyl acetaldehyde.