2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
Cycloconium oleaginum
ซึ่งทำให้เกิดอาการแผลบนใบในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตกหรือความชื้นสูง
เมื่อเชื้อรานี้เจริญขึ้นบนใบในระยะแรกแผลบนใบจะเป็นจุดเล็ก ๆ
จากนั้นจะลุกลามแผ่ขยายขนาดแผลและทำให้ใบร่วง
ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อรานี้ได้แก่
พันธุ์ Cailletier,พันธุ์ Lucques และพันธุ์ Tanche
ทางแก้ไขคือแนะนำให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คูปาวิท(Cupravit;50%copper
oxychloride) อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างสม่ำเสมอ
โดยฉีดพ่น 1 ครั้งต่อปีภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ปลายฤดูหนาว)
หรือหลังการตัดแต่ง (ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม)
หากไม่พบอาการ และฉีดพ่นทันทีที่เริ่มพบอาการ อย่างไรก็ตาม
ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในระหว่างการออกดอก
3. โรคราดำ เป็นโรคที่เกิดขึ้นบนแผ่นใบ
ทำให้ลดพื้นที่การสังเคราะห์แสงและการหายใจของใบซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด
นอกจากนี้ราดำยังแพร่ลุกลามไปบนกิ่งและยอดมะกอกโอลีฟด้วย
โดยปกติมักแพร่ระบาดได้ดีในช่วงที่อากาศเย็นและชื้น
เมื่อใดสังเกตพบราดำนี้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มมีแมลงชนิดหนึ่งเข้ามาแล้วคือเพลี้ยดำ
แนวทางทางป้องกันกำจัดคือแนะนำให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา
คูปราวิท อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงปลายฤดูหนาว
ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
หรือภายหลังการตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฤดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูใบไม้ร่วง
แต่ไม่แนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงระหว่างการออกดอก
หากหลังจากฉีดพ่นแล้วเกิดมีฝนตกนานกว่า 20 นาที
แนะนำให้ฉีดพ่นอีกครั้งเนื่องจากฝนจะชะสารเคมีที่ฉีดพ่นออกไป
หากเป็นช่วงระยะที่มีฝนตกค่อนข้างต่อเนื่องแนะนำให้ฉีดพ่นทุก 3
สัปดาห์ |