หน้า  1   2   3   4  

-4-

 
 
 
   

          กลุ่มที่ 4 เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรค หรือบางอาการ
          4.1  รักษาโรคอาการคัน หรือโรคผิวหนังบางชนิด
  เหงือกปลาหมอ ทั้งต้น
  ผักบุ้งนา ทั้งต้นบนดิน
  ทองพันชั่ง กิ่ง ใบ
  ละหุ่ง ใบ
  ผักโขมหัด ทั้งต้น
  เลี่ยน ใบ
        4.2   ลดอาการบวม
  ผักบุ้งจีน ทั้งต้น
  ผักบุ้งร้วม ทั้งต้น
        4.3   ขับเหงื่อ
  หญ้าคา ทั้งห้า
  ว่านน้ำ เหง้า
  ขลู่ กิ่ง ใบ
  เตยหอม ทั้งต้น
        4.4   ใช้สำหรับหญิงหลังคลอด
  ใบหนาด กิ่ง ใบ
  ผักบุ้งนา ทั้งต้นบนดิน
  ผลมะกรูดผ่าซีก ทั้งผล
  ไพล เหง้าสด
  มะขาม ใบสด
  ชะลูด เถา ใบ
  ขมิ้นชัน เหง้าแก่ สด
  พิมเสน  
  การบูร  

           กลุ่มที่ 5  (กลุ่มย่อย) สมุนไพรกลุ่มนี้ ช่วยให้ผิวพรรณสะอาด ดูสดใส ได้แก่ เหง้าขมิ้นชัน ใบส้มเสี้ยว มะขาม ผลมะคำดีควาย เปลือกขี้หนอน บวบขม เนื้อไม้พญายา (พม่าเรียก "ทนาคา" ) สมุนไพรกลุ่มนี้จะมีสารช่วยบำรุงผิว เช่น พญายา ขมิ้นชัน ฯลฯ และอีกกลุ่มหนึ่งมีสารช่วยชะล้าง จึงทำให้ผิวพรรณสะอาดและนุ่มนวลขึ้น เช่น มะขาม ใบส้มเสี้ยว ฯลฯ
           กลุ่มที่ 6 (กลุ่มย่อย) สมุนไพรกลุ่มนี้จะเป็นพวกประทินผิวให้ผิวนุ่ม และเนียน   ได้แก่น้ำมันมะกออกโอลีฟ น้ำมันงาเชย (การบีบ "น้ำมันงา" โดยไม่ใช้ความร้อน) ฯลฯ อาจจะเทใส่ลงในหม้อ หรือใช้นวดขณะออกมาพัก ซึ่งการใช้น้ำมันพวกนี้มานวดตัวจะได้ผลดีกว่าใส่ลงในหม้อ

บุคคลที่ไม่ควรอาบสมุนไพร

  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะถ้าอบอยู่ในห้องอบที่ร้อนนานๆ ความดันจะสูงขึ้น อาจจะเป็นอันตรายได้

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อเข้าอบในห้องที่มีอุณหภูมิ 40-42 องศาเซลเซียส นานๆ อาจจะหายใจไม่ทันและอาจจะเป็นลม ถ้าไม่มีคนพบเห็นอาจเป็นอันตราย

  • โรคลมบ้าหมู หอบหืดระยะรุนแรงไม่ควรเข้าอบ

  • ผู้ที่กำลังเป็นไข้ค่อนข้างสูง เพราะความร้อนในห้องอบจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของคนไข้สูงขึ้น

  • กำลังปวดศีรษะอย่างรุนแรงและมีคลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรอบ

  • มีบาดแผล ความร้อนจากห้องอบ จะทำให้การไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้น เลือดอาจจะออกมาอีก หรือออกมากขึ้น

  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวด

  • หญิงมีครรภ์ ความร้อนอาจจะส่งผลไปถึงเด็กได้ ถ้าอบบ่อยๆ

  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค เรื้อน ไม่ควรให้เข้าอบ เพราะเชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นๆ

ข้อควรระวัง

  • อุณหภูมิของห้องเมื่อแรกเข้าอบ ควรให้อุณหภูมิต่ำๆ ก่อน แล้วเพิ่มอุณหภูมิต่อไปจนถึง 40-42 องศาเซลเซียส

  • เมื่ออบได้ 10-15 นามี ควรออกจากห้องอบมานวดหรือทายา และเวลาในการเข้าอบทั้งหมดไม่ควรเกิน 35 นาที

  • ขณะออกมาพัก ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อทดแทนน้ำที่ออกมาเป็นเหงื่อ

  • อบเสร็จ ให้นั่งพักให้เหงื่อแห้ง แล้วจึงอาบน้ำ

  • ไม่ควรเอาเตาไฟเข้าไปในกระโจมหรือห้องอบที่มีผู้อบนั่งอยู่ เพราะ
    - ห้องหรือกระโจมแคบๆ เตาไฟอาจล้มหกลวกผู้ที่เข้าอบ
    - เตาไฟขณะมีการเผาไหม้ จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะอบอวลอยู่ในห้องแคบๆ ถ้าผู้อบสูดดมเข้าไปมาก อาจเป็นอันตรายได้

          จะเห็นได้ว่า การ " อบอาบสมุนไพร"  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพของคนไทยมาช้านาน และมีการใช้สืบทอดกันมาตลอดเวลาในชนบท ปัจจุบันกลับรื้อฟื้นและกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย "สำหรับการรักษาสุขภาพ ช่วยเสริมสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรคบางโรค"  ดังนั้น น่าจะมีการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าของการอบอาบสมุนไพร ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมผู้ปลูกสุมนไพรและเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยใช้ทรัพยากรในประเทศไทย.

..................................................................................................