แนวทางการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
1. การวิเคราะห์ทางกายภาพ เช่น แร่ธาตุในดิน คุณสมบัติของน้ำ ฯลฯ จากแหล่งกำเนิดพันธุกรรมดั้งเดิมของพืชนั้นๆ 2. การศึกษาทางด้านชีววิทยา สัณฐานวิทยา สรีรวิทยา ชีวเคมี พันธุศาสตร์ ฯลฯ ของทรัพยากรชีวภาพที่คัดเลือกมาศึกษา 3. การศึกษาด้านโภชนาการ องค์ประกอบของสารสำคัญ เช่น รงควัตถุ กลิ่น สารสำคัญต่างๆ ในพันธุกรรมพืชและทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ ที่เป็นเป้าหมาย 4. การศึกษาการปลูก การเขตกรรมและขยายพันธุ์พืชด้วยการขยายพันธุ์ตามปกติ ในพันธุกรรมพืชที่ไม่เคยศึกษามาก่อน และการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในพันธุกรรมพืชที่ไม่เคยศึกษามาก่อน รวมถึงการศึกษาการเลี้ยงและการขยายพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ 5. การศึกษาการจำแนกสายพันธุ์โดยวิธีทางชีวโมเลกุล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ เพื่อเก็บเป็นลายพิมพ์ดีเอ็นเอของทรัพยากรชนิดนั้นๆ ไว้เพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ต่อไป 6. การจัดการพื้นที่ที่กำหนดเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา เช่น ศูนย์เรียนรู้ต่างๆ ซึ่งเป็น ศูนย์ฯ ตัวอย่าง เพื่อการเรียนรู้การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งศูนย์ฯ เหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมของ อพ.สธ. สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของ อพ.สธ.
ศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง ของ อพ.สธ.
l โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ l กิจกรรมโครงการ l สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน l ข้อมูลพรรณไม้ l เอกสารโครงการ l โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ l
l Home l Webboard l RSPG e-Mail l Web Links l สำนักงาน อพ.สธ l ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ I สารพรรณพฤกษ์ Iห้องสมุด อพ.สธ. I
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓ โทร. ๐-๒๒๘๒-๑๘๕๐, ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕ E-mail : admin@plantgenetics-rspg.org
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร