ด้วงมูล..
เทศบาลประจำป่า
ชีวิตพิสดารของผู้อยู่กับมูล
ด้วงที่อาศัยอยู่บนผิวกองมูล
จะกินมูลสัตว์จากกองมูลแล้ววางไข่ไว้ตรงนั้น ด้วงที่ชอบขุดเจาะสร้างรังเป็นรูไว้ใต้ดินเพื่อใช้เป็นที่วางไข่และเป็นอาหารของตัวอ่อน
ด้วงมูลสัตว์ที่ปั้นมูลเป็นก้อนกลมๆ แล้วกลิ้งก้อนมูลออกไปจากกองมูลดิน
เพื่อหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
ด้วงกาฝากหรือหัวขโมย จะเข้าไปขโมยเอาทั้งก้อนมูลและตัวเมีย
ขณะที่ตัวอื่นกำลังกลิ้ง
ก้อนมูลผ่านมา
หรือแอบแฝงเข้ามาอาศัยอยู่ภายในรังของด้วงมูลสัตว์ชนิดอื่น
ชีวิตนี้มีแต่มูล
ด้วงมูลสัตว์
มีวงจรชีวิตและรูปร่างเช่นเดียวกับแมลงด้วงปีแข็งทั่วไป
เป็นแมลงที่มีการ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์จากระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้
และตัวเต็มวัย
ช่วงตัวอ่อนหรือตัวหนอน
ด้วงมูลสัตว์ฟักออกจากไข่แล้วจะขดตัวเป็นรูปตัว
C อยู่ในก้อนมูล
มีส่วนหัวขนาดเล็กและมีปากสำหรับกัดกิน
ย่อยอาหารที่เป็นกากใยในมูลนั้นได้
ตัวอ่อนจะหยุดกินอาหารและไม่ทำกิจกรรมใดๆ เป็นเวลานานหลายเดือน
จากนั้นจะกลายเป็นดักแด้
ช่วงตัวเต็มวัย
จะเริ่มกัดก้อนมูลให้เป็นรูเพื่อดันตัวออกจากก้อนมูล
ตัวเต็มวัยเพศเมียจะไม่มีเขา
ส่วนตัวเต็มวัยเพศผู้ส่วนใหญ่มีเขายื่นยาวที่ส่วนหัว
ด้วงมูลสัตว์แต่ละชนิด สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่ 4-5 เดือน
จนถึง 1-3 ปี
ด้วงไม่มี .. เต็มโลก
ลองคิดดูเล่นๆ ว่า ปกติวัว 1
ตัว สามารถขับถ่ายมูลออกมาได้ 7 ตันต่อปี
สมมุติในโลกนี้มีวัวอยู่ 100 ล้านตัว ใน 1 ปี
ก็จะมีกองมูลอยู่ประมาณ700 ล้านตัน
เมื่อรวมกับสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึงมนุษย์ด้วยมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ ถ้าไม่มีด้วงมูลสัตว์แล้ว
ลองจินตนาการดูสิว่า โลกใบนี้จะเป็นเช่นไร?
ในระบบนิเวศ ด้วงมูลสัตว์นั้นเปรียบได้กับ
"เทศบาล" ที่พิทักษ์ความสะอาดด้วยการกำจัด
กองมูล พฤติกรรมของด้วงมูลสัตว์ยังช่วยปรับปรุงดิน
และช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของแร่ธาตุอาหารต่างๆ ที่สำคัญ
ยังช่วยแพร่กระจายและฝังเมล็ดพืชที่ปนอยู่ในกองมูลของสัตว์ป่าลงสู่พื้นดิน "ด้วงมูลสัตว์" เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า
พื้นที่ป่าที่มีด้วงชนิดนี้น้อย
แสดงว่าพรรณไม้ในป่านั้นมีน้อย
สัตว์ป่าที่อาศัยในป่านั้นมีอาหารการกินน้อย
จึงถ่ายมูลออกมาน้อย
|