น้ำทะเล ก็มีมาตรฐาน
มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 7 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1
เพื่อการสงวนรักษาธรรมชาติ
(Environmental
Preservation)
ประเภทที่ 2
เพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง
(Coral Conservation)
ประเภทที่ 3
เพื่อการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติอื่นๆ
(Conservation
of Natural Life)
ประเภทที่ 4
เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
(Aquaculture)
ประเภทที่ 5 เพื่อการว่ายน้ำ
(Water
Contact Sport) Swimming
ประเภทที่ 6 เพื่อการกีฬาทางน้ำอื่นๆ
(Water
Proximity Sport) Vocation
ประเภทที่ 7 บริเวณแหล่งอุตสาหกรรม
(Industrial
Zone) Enterprise&Industries
จากมาตรฐานทั้ง 7 ประเภทข้างต้น พื้นที่บริเวณหนึ่งๆ
อาจมีการใช้ประโยชน์ได้หลายกิจกรรม เช่น
ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
ใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว ว่ายน้ำ นอกจากนี้
ยังสามารถใช้ประโยชน์ในแง่ของการกีฬาทางน้ำอื่น
และอนุรักษ์แหล่งปะการังด้วย แต่ทั้งนี้
การใช้มาตรฐานจะกำหนดตามกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ชายฝั่ง
ประเภทที่ 1
เพื่อการสงวนรักษาธรรมชาติ
(Environmental
Preservation)
หมายถึงบริเวณที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ
เช่น อุทยานแห่งชาต โดยมีการใช้ประโยชน์ในแง่ของ
-
การศึกษาวิจัย และ/หรือ
การสาธิตทางด้านวิทยาศาสตร์
ประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยแปลงสภาพแวดล้อม เช่น
การสังเกตการณ์ การติดตามตรวจสอบ เป็นต้น
-
กิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพ ความงามตามธรรมชาติ
-
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการ และการอนุรักษ์
ที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ประเภทที่ 2 เพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง
(Coral Conservation)
หมายถึงบริเวณที่มีแหล่งปะการังสมบูรณ์ หรือปะการังเสื่อมโทรม
แต่มีแนวโน้มที่จะฟื้นคืนสภาพได้ เช่น
แนวปะการังในบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี เกาะสิมิลัน
เกาะช้าง เป็นต้น
โดยมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 2
เป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำทะเลให้มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นที่อนุรักษ์แหล่งปะการัง
ค่ามาตรฐานคุณภาพทะเลชายฝั่งประเภทที่ 2 ที่สำคัญ ได้แก่
-
อุณหภูมิน้ำ (water
temperature) ไม่เกิน 33
องศาเซลเซียส
-
ออกซิเจนละลายในน้ำ (dissolved
oxygen : DO) ไม่น้อยกว่า 4
มิลลิกรัม/ลิตร
-
ความโปร่งใส (tranparency)
ต้องมีค่าเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติได้ไม่เกินร้อยละ 10
-
ความเค็ม (salinity)
ต้องมีค่าระหว่าง 29-35 ส่วนในพันส่วน
ประเภทที่ 3
เพื่อการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติอื่นๆ
(Conservation
of Natural Life) หมายถึงแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน แหล่งอาศัย
แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เป็นต้น
ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพไม่เปลี่ยนไปจากธรรมชาติมากนัก
โดยมีค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 3
เป็นตัวควบคุมให้คุณภาพน้ำทะเลมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นที่อนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 3 ที่สำคัญ ได้แก่
-
ความเป็นกรดด่าง (pH)
ต้องมีค่าระหว่าง 7.0-8.5
-
ความเค็มของน้ำทะเล (salinity)
ต้องมีค่าเปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติได้ไม่เกินร้อยละ
10
-
อุณหภูมิ (Temperature)
ต้องไม่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส
-
ออกซิเจนละลาย (Dissolved
Oxygen)
ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัม/ลิตร
-
ความโปร่งใส (Transparency)
ต้องมีค่าเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติได้ไม่เกินร้อยละ 10
ประเภทที่ 4
เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
(Aquaculture)
หมายถึงบริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าชายฝั่งตามธรรมชาติ เช่น
การเลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยนางรม กุ้ง การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นต้น
ซึ่งสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจะต้องมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม
เช่น บริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณที่เป็นน้ำกร่อย
เป็นแหล่งที่มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์
โดยมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 4
เป็นตัวควบคุมให้คุณภาพน้ำทะเลเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภที่ 4 ที่สำคัญ
-
สีและกลิ่นของน้ำต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
-
ความเป็นกรดและด่าง (pH)
ต้องมีค่าระหว่าง 7.0-8.5
-
ความเค็มของน้ำ (Salinity)
ต้องมีค่าเปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติไม่เกินร้อยละ 10
-
ค่ารวมของแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม (Total
Coliform Bacteria : TCB)
ในน้ำต้องมีค่าไม่เกิน 1,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร
-
ออกซิเจนละลาย (Dissolved
Oxygen)
ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร
ประเภทที่ 5 เพื่อการว่ายน้ำ
(Water
Contact Sport)
หมายถึงบริเวณที่คนนิยมไปว่ายน้ำ และท่องเที่ยวทางทะเล
ซึ่งสถานที่เหล่านี้จะต้องมีลักษณะทางกายภาพที่สวยงาม มีหาดทราย
น้ำทะเลใสสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนจากมลพิษทางน้ำ
โดยใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 5
เป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำทะเลให้เหมาะสมกับกิจกรรมการว่ายน้ำ
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 5 ที่สำคัญ
-
ต้องไม่มีวัตถที่น่ารังเกียจลอยอยู่บนผิวน้ำ
-
ต้องไม่มีน้ำมันหรือไขมันที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยอยู่บนผิวน้ำ
-
ความโปร่งใส (Tranparency)
ต้องมีค่าเปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติไม่เกินร้อยละ 10
-
สีและกลิ่นของน้ำ
ต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
-
ค่ารวมของแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม (Total
Coliform Bacteria : TCB)
ในน้ำ ต้องมีค่าไม่เกิน 1,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร
ประเภทที่ 6 เพื่อการกีฬาทางน้ำอื่นๆ
(Water
Proximity Sport)
หมายถึงบริเวณที่มีลักษณะทางธรรมชติเอื้ออำนวยต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการกีฬาทางน้ำ
เช่น การเล่นเรือใบ หรือ สกีน้ำ เป็นต้น
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 6 ที่สำคัญ
-
ต้องไม่มีวัตถุที่น่ารังเกียจลอยอยู่บนผิวน้ำ
-
ต้องไม่มีน้ำมันหรือไขมันที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
-
สีและกลิ่นของน้ำ ต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
ประเภทที่ 7 บริเวณแหล่งอุตสาหกรรม
(Industrial
Zone)
เป็นบริเวณรองรับน้ำทิ้งจากแหล่งอุตสาหกรรมโดยที่คุณภาพน้ำบริเวณนี้ต้องไม่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
เป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมในแง่ของการลงทุน
เพื่อจัดทำเป็นแหล่งอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรม
เป็นต้น
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 7 ที่สำคัญ
-
ต้องไม่มีวัตถุที่น่ารังเกียจลอยอยู่บนผิวน้ำ
-
ต้องไม่มีน้ำมันหรือไขมันที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยอยู่บนผิวน้ำ
-
สีและกลิ่นของน้ำ ต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
-
ค่ารวมของปรอท (Total Mercury)
ในน้ำต้องมีค่าไม่เกิน 0.0001
มิลลิกรรมต่อลิตร
-
แคดเมียม (Cadmium)
ในน้ำ ต้องมีค่าไม่เกิน 0.005
มิลลิกรัมต่อลิตร
-
โครเมียม (Chromium)
, เหล็ก (Iron)
, ทองแดง (Copper),
สังกะสี (Zinc) จะกำหนดตามความจำเป็น
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยกองสมุทรศาสตร์
เป็นหนึ่งในคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ.
โดยรับหน้าที่สำรวจข้อมูลสมุทรศาสตร์และคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะแสมสารและและเกาะใกล้เคียง
ประกอบด้วย 15 สถานี บริเวณรอบเกาะแสมสาร เกาะแรด เกาะฉางเกลือ
เกาะขาม และเกาะปลาหมึก ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2541-กันยายน 2542
ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลสมุทรศาสตร์ สมุทรศาสตร์เคมี
และสมุทรศาสตร์ชีวะ
ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาระบบนิเวศวิทยา ธรณีวิทยา
ชีววิทยา โดยใช้เรือหลวงศุกร์ในการเก็บข้อมูล
|