ปรากฏการณ์ปะการังสีทอง
ปรากฏการณ์ปะการังสีทองซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงปลายเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2549 และกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ณ ชายฝั่งค่ายเจษฎามหาราชเจ้า
ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จัดเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของการเกิดปะการังฟอกขาว
โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นข่วงเวลาที่มี น้ำลงสูงสุด ในตอนกลางวัน
ทำให้พื้นที่ตื้นชายฝั่งได้รับอิทธิพลจากแสงแดดเต็มที่ อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างชัดเจนประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์ ลาณีญ่าที่เกิด ฝนตกหนักเป็นบางช่วง
อย่างต่อเนื่อง น้ำฝนนั้น ทำให้ระดับ ความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง
นอกจากนั้นการชะล้างตะกอนหรือของเสียจากฝั่งโดยฝนที่ตกลงมาและการระบายน้ำใช้สู่ท่อระบายน้ำ ที่ปล่อยลงใน บริเวณ ใกล้เคียง จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่ทำให้เกิดสภาวะที่ี่ไม่เหมาะสม อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว
บริเวณชายฝั่งค่ายเจษฎามหาราชเจ้า มีปะการังอ่อน (soft coral) ชนิดหนึ่ง
เรียกว่า ปะการังอ่อนดอกเห็ด หรือปะการังอ่อนทองหยิบ หรือ Sarcophyton
จำนวนมาก อาศัยอยู่ ซึ่งปะการังอ่อน Sarcophyton นี้ สามารถพบกระจายทั่วไป
ปะการังอ่อนแตกต่างกับปะการังแข็งตรงที่ปะการังอ่อนจะไม่มีการสร้างโครงร่าง หินปูน
ที่เเป็นโครงสร้างแข็ง ห่อหุ้มตัวภายนอกหากแต่ฝังโครงร่างแข็งนี้ภายในเนื้อเยื่อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และมีหนวด ที่ใช้ในการ จับอาหาร 8 เส้น หรือทวีคูณของแปด
ดังนี้ ปะการังอ่อน ยังแบ่ง ออกเป็นกลุ่ม ที่มีและไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีร่วมอาศัยด้วยโดยปะการังอ่อน Sarcophyton จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสาหร่าย ซูแซนเทลลี ดังนั้น
เมื่อปัจจัยแวดล้อมภายนอกไม่ปกติสาหร่ายซูแซนเทลลีนี้จึงออกจากตัวปะการังอ่อนไป
ทำให้สีเนื้อเยื่อของโคโลนีปะกการังอ่อน ปรากฏขึ้น สีที่บเห็นทั่วไปมีทั้งสีน้ำตาล เขียว
เหลือง จนถึงครีม ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลลดต่ำลง ผิวน้ำทะเลสะท้อนแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่
ประกายสีเหลืองทองอร่ามของปะการัง Sarcophyton ที่เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวจึงเด่นชัดมากขึ้น โดยปกติ ปะการังอ่อนสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจาก สาหร่ายซูแซนเทลลีได้ 2-3 เดือน หรืออาจถึง 6 เดือน ซึ่งนานกว่าปะการังแข็งมาก เนื่องจากปะการังอ่อนนี้ สามารถปรับตัว โดยการแบ่งหรือแยกตัวออกให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดการใช้พลังงาน ส่วนหนึ่งส่วนใดสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ยาวนานที่สุด
อ้างอิงจาก : หนังสือ จากยอดเขาถึงใต้ทะเล 2,อพ.สธ.-ทร. ,พ.ศ. 2550.