พฤติกรรมการสืบพันธุ์ของนกที่น่าสนใจ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความต้องการที่จะให้เผ่าพันธุ์ของตนเองมีลูกมีหลานสืบทอดต่อไปให้นานเท่านาน
ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า มียีนหรือแหล่งพันธุกรรมที่เห็นแก่ตัว
และถ้าต้องการให้ยีนนั้นดำรงอยู่รอดได้ก็ต้องมีการถ่ายทอดยีนนั้นไปสู่ลูกหลานต่อๆไป
กรรมวิธีที่จะให้ยีนถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ก็คือการสืบพันธุ์
จะเห็นได้ชัดในนกซึ่งมีพฤติกรรมการ สืบพันธุ์หลายรูปแบบ
เริ่มจากวิธีเลือกคู่
-
แบบที่สอง เพศผู้เพียงตัวเดียวจะจับคู่กับเพศเมียหลายๆ ตัว (polygyny)
ในช่วงหนึ่งฤดูผสมพันธุ์
จะสังเกตได้ว่านกกลุ่มนี้เพศผู้จะมีสีสันสวยงาม
ดึงดูดเพศตรงข้ามได้ เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์
ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดืนพฤศจิกายน -
ธันวาคม เป็นต้นไป นกเพศผู้จะเลือกครอบครองอาณาเขตที่เหมาะสม
เพื่อใช้เป็นที่เกี้ยวพาราสีตัวเมีย
และร้องหรือขันอยู่ในอาณาเขตครอบครองของตน
หากมีนกตัวอื่นเข้ามา
ก็ต้องออกมาไล่เพราะเป็นพื้นที่ที่ถูกครอบครองอยู่ก่อนแล้ว
นกในกลุ่มนี้ เช่น กลุ่มไก่ฟ้า ไก่ป่า
และถ้าเป็นนกยูงเพศผู้ที่โตเต็มวัยขะมีขนคลุมหางที่เรียกว่าแววมยุรา
และสีสันสวยงาม เขาจะเดินอวดโฉมที่ต้องตาและเร้าใจเพศเมีย
เมื่อเพศเมียตัวใดสนใจเดินเข้ามาหา
โดยที่นกเพศผู้จะรำแพนหางให้เพศเมียไปมานานเป็นชั่วโมง
หากเพศเมียพร้อมก็จะเข้าผสมพันธุ์
เพศเมียจะอยู่กับเพศผู้ระยะหนึ่งแล้วแยกไปวางไข่และเลี้ยงลูกเอง
นกในแบบที่สองนี้พบประมาณ 6%
เพศผู้จะไม่ช่วยเลี้ยงลูก
เพียงทำหน้าที่สืบพันธุ์และคอยที่จะมองหาเพศเมียที่จะสืบพันธุ์ตัวต่อไป
จากการศึกษาในภาคเหนือพบอัตราส่วนของเพศผู้ต่อเพศเมียเป็น 1
ต่อ 8 เพราะมีนกยูงเพศเมียจำนวนมากกว่าเพศผู้ ดังนั้น
ถ้าเพศผู้มาช่วยเพศเมียเลี้ยงลูก
ก็จะทำให้เสียโอกาสในการสืบพันธุ์
และถ้าหาไม่ต้องมีภาระเลี้ยงลูกก็จะมีโอกาสสืบพันธุ์ได้มากขึ้น
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดยีนของตัวเองให้สืบทอดอยู่รอดตลอดไป
-
การเลือกคู่แบบที่สาม จะตรงข้ามกับแบบที่สอง
คือเพศเมียหนึ่งตัวจะผสมพันธุ์กับเพศผู้ได้หลายๆ ตัว (ployandy)
ในหนึ่งฤดูผสมพันธุ์
นกในกลุ่มนี้
อาจจะเนื่องมาจากอัตราส่วนของเพศผู้และเพศเมียไม่สมดุลกัน
โดยทั่วไปนกเพศมียจะมีสีสดใสกว่าเพศผู้ เช่น นกคุ่มอืด
นกอีแจว เมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์
เธอจะเดินอวดโฉมไปมาตามแหล่งน้ำที่มีจอกแหนขึ้น
เมื่อมีเพศผู้มาสนใจ เข้าคู่และผสมพันธุ์แล้ว
เธอจะออกไข่ให้เพศผู้ฟักและดูแลลูกของเธอ
แล้วเธอก็แจวไปหาเพศผู้ตัวใหมเพื่อผสมพันธุ์
แล้วเธอจะทิ้งไข่ให้เป็นภาระของนกตัวผู้เลี้ยงดูต่อไป
จากการศึกษาในหนึ่งฤดูผสมพันธุ์ พบว่านกเพศเมียตัวหนึ่ง
สามารถผสมพันธุ์กับนกเพศผู้ได้ถึง 4 ตัว
และอาจจะผสมพันธุ์สูงสุดถึง 8 ตัวเลยทีเดียว
อัตราส่วนของนกที่มีการผสมพันธุ์แบบนี้ พบไม่ไม่ถึง 1%
ของนกทั้งหมด
-
แบบที่สี่ เป็นประเภทนัดพบ
ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะนัดกันมาพบในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งพร้อมๆ
กัน (promiscuity)
และถ้าคู่ใดพึงพอใจกันก็จะผสมพันธุ์กันอย่างอิสระ
นกกลุ่มนี้พบได้น้อยมากพอๆ กับนกกลุ่มที่สาม ซึ่งพบจำนวนไม่ถึง
1% เช่นกัน ตัวอย่างเช่น นกร๊าฟ
หรืออาจพบนกในกลุ่มไก่ฟ้าและนกกระทาด้วย
นอกจากการเลือกคู่แบบต่างๆ แล้ว นกบางชนิดยังมีผู้ช่วย (helpers)
อาจเป็นเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้มาช่วยเลี้ยงลูก เช่น
นกเงือกสีน้ำตาล เมื่อนกเพศผู้และเพศเมียจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว
เพศเมียจะเข้าไปในโพรงไม้
นกเพศผู้ที่เป็นคู่จะช่วยหาอาหารและหาวัสดุมาปิดทางเข้าของรัง
นอกจากนั้นจะมีผู้ช่วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นน้องๆ
ที่ยังไม่มีคู่มาช่วยหาอาหารมาป้อนอีกสามถึงสี่ตัว
พี่น้องทั้งสามหรือสี่ตัวนี้จะขยันขันแข็งผลัดกันนำอาหารมาป้อนเพศเมียที่มีลูกตลอดเวลา
จนแม่และลูกนกโตพร้อมออกจากรัง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
การที่มีผู้ช่วยจะทำให้เพิ่มความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น
อีกทั้งยังเพิ่มประสบการณ์
ถ้าหากว่าต่อไปตนเองจะต้องมีคู่ก็จะได้ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก
นกบางประเภทก็เลือกที่จะมีพฤติกรรมต่อนี้คือ เป็นประเภทกาฝาก (brood
parsitism)
หลายคนคงเคยได้ยินผ่านเพลงกล่อมเด็กที่ว่า
แม่กาเหว่าไปไข่ในรังอีกา
แม่อีกาก็นึกว่าลูกตัวเองเลยเลี้ยงดูและฟูมฟักจนลูกกาเหว่าเจริญเติบโตออกาจากรังและอยู่รอดต่อไปได้
ส่วนใหญ่จะพบในนกกลุ่มนกคัดคู เช่น นกกาเหว่าไปไข่ในรังอีกา
นกอีวาบตั้งแตนไปไข่ในรังนกกระจิบหรือนกขมิ้นน้อยธรรมดา
และไข่พวกนี้จะมีลักษณะคล้ายไข่ของเจ้าของรัง
แต่จะมีการฟักและการเจริญเร็วกว่าเจ้าของรัง
และสัญชาตญานของพวกลูกนกกาฝาก
จะใช้หลังดันไข่ของเจ้าของรังตกออกไปจากรัง
ตามหลักเชื่อว่านกเหล่านี้เดิมก็เป็นนกที่สร้างรังเอง
แต่อาจจะเกิดเหตุที่รังถูกทำลายไปกระทันหัน
จึงปรับตัวไปไข่รังของนกชนิดื่น
ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการไปเป็นนกกาฝากที่ไม่สร้างรังของตนเอง
|