หอยเต้าปูน ภัยเงียบแห่งท้องทะเล

หอยเต้าปูน เป็นชื่อที่คนไทยใช้เรียกกันโดย ทั่วไป แต่ชาวต่างประเทศจะรู้จักกันในชื่อ Cone shell เนื่องจากหอยชนิดนี้จะมีรูปร่างทรงกรวยหัวป้านและ เรียวแหลมลงไปทางด้านปลายเหมือน กับถ้วยไอศครีม โคนหรือลูกข่างนั่นเอง หอยเต้าปูนเป็นหอยทะเล ฝาเดียว ซึ่งมีการจัดทางอนุกรมวิธานโดยอยู่ใน Phylum Mollusca, Class Gastropoda, Subclass Orthogastropoda, Supperorder Caenogastropoda, Order Sorbeoconcha, Suborder Hypsogastropoda, Infraorder Neogastropoda, Supperfamily Conoidea, Family Conidae, Genus Conus

                หอยเต้าปูนมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง มากทั่วโลกประมาณ 500 ชนิด ส่วนใหญ่จะพบใน บริเวณเขตร้อน (Tropical Zone) เช่น หอยเต้าปูน ราชสำนัก (Court cone: Conus aulicus Linnaeus, 1758) พบบริเวณหมู่เกาะฮาวายถึงมหาสมุทรอินเดีย,หอยเต้าปูนลายแผนที่ (Geographer cone: Conus geographus Linnaeus, 1758) และหอยเต้าปูน ลายหินอ่อน (Marbled cone: Conus marmoreus Linnaeus, 1758) พบบริเวณหมู่เกาะฮาวายถึงแอฟริกา, หอยเต้าปูนลายผ้า (Textile cone: Conus textile Linnaeus, 1758) และหอยเต้าปูนทิวลิป (Tulip cone: Conus tulipa Linnaeus, 1758) พบบริเวณหมู่เกาะฮาวายถึงทะเลแดง, หอยเต้าปูนลาย (Striated cone: Conus striatus Linnaeus, 1758) พบบริเวณอินโดแปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย ในประเทศไทยนั้นก็มีหอยเต้าปูน เช่นกัน เช่น หอยเต้าปูนลายแผนที่พบทางฝั่งทะเล อันดามัน หอยเต้าปูนลายผ้าพบที่จังหวัดชลบุรี จันทบุรี และตราด หอยเต้าปูนจะมีการดำรงชีวิตโดยเป็นสัตว์ ที่ต้องกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivorous) โดยทั่วไป จะพบคืบคลานอยู่ตามพื้นทรายในแนวปะการังหรือ พื้นที่ใกล้เคียง อาจพบอยู่ตามซอกหินปะการังก็ได้ ส่วนใหญ่มักจะชอบฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในตอนกลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน แต่ในบางพื้นที่ก็ สามารถพบได้ในเวลากลางวันเช่น ในแนวปะการัง ของเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะช้างจังหวัดตราด หอยเต้าปูน จะสามารถรับรู้ว่ามีเหยื่อได้จากการสัมผัสจากระบบ สัมผัสพิเศษ เรียกว่า chemoreceptor ซึ่งจะอยู่บริเวณ ท่อน้ำเข้า-ออก (siphon) เราอาจแยกประเภทหอยเต้าปูน ได้เป็นกลุ่มใหญ่ตามลักษณะการกินอาหารดังนี้

                 พวกที่กินปลาเป็นอาหาร (Piscivorous) หอยเต้าปูนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่อันตราย และมีพิษร้ายแรงที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อว่ายหนี ไปไกล พิษจะมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทของสัตว์มี กระดูกสันหลัง (Vertebrate) เหยื่อของหอยเต้าปูน ชนิดนี้ได้แก่ ปลาบู่จิ๋ว, ปลานกแก้ว ฯลฯ พิษของหอย กลุ่มนี้สามารถทำอันตรายต่อคนจนถึงแก่ชีวิตได้ทีเดียว หอยเต้าปูนในกลุ่มนี้ได้แก่ หอยเต้าปูนลายแผนที่, นั่นเอง เมื่อยิงออกไปแล้วเข็มพิษอันใหม่ก็จะเคลื่อน เข้ามาแทนที่ แม้ว่าในระยะการยิงเข็มพิษจะไกลไม่เกิน หนึ่งฟุต แต่งวงของหอยเต้าปูนซึ่งยืดได้ไกลกว่า ความยาวของเปลือก 2-3 เท่า บวกกับความเร็วและ ความคมของเข็มพิษที่สามารถเจาะทะลุได้แม้กระทั่ง ชุดดำน้ำ ก็สามารถสยบเหยื่อได้โดยง่ายดังนั้นหอยเต้าปูนจึงอาจ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายแล้วโผล่งวงออกมา คอยดักยิง เหยื่อที่ผ่านมา เมื่อเหยื่อถูกเข็มพิษจะเป็นอัมพาต หอยเต้าปูนก็จะค่อย ๆ ใช้งวงดูดเข้าไปทั้งตัว แล้ว จึงย่อยกระบวนการนี้อาจใช้เวลานานเป็นวันเลยที เดียว ก่อนที่หอยจะพ่นก้างปลา ซึ่งย่อยไม่ได้ออกมา  

อาการของพิษหอยเต้าปูน

                พิษของหอยเต้าปูนนั้นมีหลายประเภทซึ่ง จะมีผลต่อร่างกายคนแตกต่างกันไป เช่น กลุ่ม Alpha- conotoxins จะมีผลเหมือนกับ Alpha neurotoxins จากพิษงู โดยจะไปเชื่อมและยับยั้งการทำงานของ acetylcholine receptor ในระบบประสาท พิษของหอย เต้าปูนลายแผนที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของ muscle-type acetylcholine receptor ทำให้การหายใจ ล้มเหลวถึงกับความตายได้ กลุ่ม   Omega-conotoxins จะไปยับยั้งการทำงานของ voltage-gated calcium channels และการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในระบบประสาท ของกล้ามเนื้อลาย พิษในกลุ่มนี้ เช่น omega-conotoxin MVIIA หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ SNX-111จะมี ประโยชน์มากโดยสามารถให้ผลระงับความเจ็บปวด ได้ดีกว่ามอร์ฟีนถึง 1000 เท่า กลุ่ม Mu-conotoxins และ Delta-conotoxins จะไปยับยั้งการทำงานของ voltage-gated sodium channels ในกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ผลเหมือน กับสาร saxitoxin และ tetrodotoxin กลุ่ม Kappa-conotoxins และconantokins จะไปยับยั้งการทำงานของ voltage-gated potassium  channels นอกจากนี้ยังมี สารกลุ่ม ziconotide เป็นสารที่ไปยับยั้งการทำงานของ neuronal calcium canals ซึ่งใช้ในทางการแพทย์ ช่วยยับยั้งความเจ็บปวดได้ดี สาร sleeper peptide ที่ได้จากหอยเต้าปูนลายแผนที่ จะช่วยให้เกิดภาวะการ หลับลึกในสัตว์ทดลอง และพบภาวการณ์จับตัวเป็นลิ่ม ของโลหิตในกระแสเลือด (disseminated intravascular coagulation: DIC) ได้   

                สำหรับคนที่โดนหอยเต้าปูนทำร้ายนั้นจะมี อาการแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าโดนหอยในกลุ่มใด ทำร้าย บางรายอาจถึงตายได้ถ้าโดนพิษของพวกที่ กินปลาเป็นอาหารทำร้าย อาการที่เห็นได้ชัดคือ มีอาการเจ็บปวด บวมมาก ตรงที่ถูกพิษจะเป็น สีน้ำเงินคล้ำ เป็นอัมพาต หมดความรู้สึก ชาบริเวณนั้น อาการชาจะค่อย ๆ กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ปาก ริมฝีปาก และ แขนขา คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ น้ำตาและ น้ำลายไหล เจ็บหน้าอก เสียงแห้ง มองภาพไม่ชัด กล้ามเนื้อต่าง ๆ ผิดปรกติ การหายใจขัด และตายภายใน 5 ชั่วไมง ส่วนใหญ่จะตายเพราะหัวใจล้มเหลว (cardiac failure) มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากหอยเต้าปูน ทั่วโลกแล้วกว่า 30 ราย จากหอยเต้าปูนลายแผนที่, หอยเต้าปูนลายผ้า และหอยเต้าปูนลายหินอ่อน  ส่วนพวกที่มีอาการไม่ร้ายแรงอาจมีอาการเป็นผื่นบวมแดง เจ็บปวด มีอาการคล้ายถูกผื้งหรือแมลงป่องต่อย มี รายงานว่าพิษของหอยเต้าปูนนี้ทำให้เกิดเป็นอัมพาต ที่กล้ามเนื้อโดยไปรบกวนหรือยับยั้งกลไกการทำงาน ของใยกล้ามเนื้อ

                การป้องกันและการรักษาเมื่อโดนหอยเต้าปูน ทำร้ายการักษาผู้ที่โดนหอยเต้าปูนทำร้ายนั้น สามารถ ทำได้แต่การปฐมพยาบาลในเบื้องต้นและรักษาตามอาการ เท่านั้น เพราะพิษของหอยเต้าปูนนั้นไม่มียารักษา เหมือนกับเซรุ่มแก้พิษงู การปฐมพยาบาลอาจทำได้โดย การใช้ผ้าก๊อดทำแผลวางปิดแผลที่ถูกเข็มพิษตำแล้ว มัดให้แน่นด้วยผ้าพันแผลกลม ทั้งนี้เพื่อให้กดท่อน้ำ เหลืองไว้ แต่ต้องคอยคลายผ้าออกบ้างเพื่อไม่ให้ กล้าม เนื้อตายเนื่องจากขาดเลือด การจุ่มแผลลงในน้ำอุ่น 43.3-45 องศาเซลเซียส อาจช่วยลดความเจ็บปวดได้บ้าง อย่า ผ่าหรือกรีดแผลเพื่อดูดเอาพิษออก รีบนำส่งโรง-พยาบาลทันที คนที่ถูกหอยเต้าปูนทำร้ายส่วนใหญ่ มักจะเป็นนักสะสมเปลือกหอยแต่ไม่รู้จักหอยเต้าปูน เมื่อเอามือไปจับเข้าหอยก็จะยื่นงวงออกมาทำร้ายเอาได้ การจับหอยที่ถูกควรจับหอยทางด้านป้านเพราะงวง จะยื่นออกมาจากด้านปลายแหลม ควรใส่ถุงมือก่อนจับ และอย่าเอาหอยใส่กระเป๋าเสื้อผ้า เพราะเข็มพิษสามารถ แทงทะลุผ้าได้

                จากเรื่องราวของหอยเต้าปูนที่ได้เรียบเรียงมา น่าจะทำให้เรา สำนึกได้ว่าแม้ว่าในโลกสีครามอันสวย งามน่าพิศมัยนั้น ก็อาจจะมีอันตรายซ่อนเร้นอยู่ได้ ซึ่ง ความลับอันน่าพิศวงนี้ ย่อมทำให้เกิดความน่าศึกษา อยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่าง ๆ ในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ มากยิ่งขึ้น การที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษา เรื่องราวต่าง ๆ ในท้องทะเลไทยนั้น นับได้ว่าทรงมี พระปรีชายิ่งในการ ที่ทรงแลเห็นถึงความสำคัญของ ท้องทะเลของไทย ถึงแม้ว่าผลการศึกษาในบางเรื่อง จะเปรียบ เสมือนกับการปิดทองหลังพระ แต่ก็นับว่าเป็น องค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งต่อประชาชน และลูกหลานไทย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ที่มา: จากยอดเขาถึงใต้ทะเล 2 สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว..สู่..ประโยชน์แก้แก่มหาชน, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเน่องมาจากพระราชดำริฯ ,ตุลาคม 2550

 
 
         
         
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.