"... เดินดูต้นไม้ต่างๆ ต้นโตๆ ทั้งนั้น ต้นไม้ในสวนนี้ถูกพายุเมื่อปี
ค.ศ.1968 พัดล้มหลายต้น ป้ายที่ปะต้นไม้ที่นี่ทำละเอียด เริ่มใช้ระบบ
card index มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1938
เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี 1969 กว่าจะพิมพ์ข้อมูลจากบัตรลงในแผ่น
disk ทั้งหมดใช้เวลา 3 ปี
ต้องพัฒนาระบบไปด้วยเพราะว่าเทคโนโลยีด้านคิมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ปัจจุบันใช้โปรแกรม BG-Base
ซึ่งใช้ในสวนพฤกษศาสตร์หลายแห่งในสหรัฐฯ ข้อมูลที่บันทึกไว้
(ปรากฏในป้ายที่ติดไว้กับต้นไม้ด้วย) เป็นประโยชน์ในการปลูกต้นไม้
งานวิจัยและการอนุรักษ์ ยกตัวอย่างเช่น ต้นกำเนิดของพืช
ชื่อผู้เก็บตัวอย่างหรือผู้บริจาค พืชนี้ขึ้นในสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ที่ไหน เป็นพืชหายาก (endangered, vulnerable, rare)
หรือเปล่า
ป้ายติดต้นไม้มีข้อมูลชื่อพืชที่นักอนุกรมวิธานตรวจแล้วเขียนไว้ทั้งชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อ family และชื่อสามัญ แหล่งกำเนิด
ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง หรือชื่อ expedition
หมายเลขประจำพืช เครื่องหมายที่บอกว่าเป็นพืชป่า พืชหายาก ฯลฯ ตัวเลข
750538 หมายความว่าเป็น ต้นพืชที่ 538 ที่เก็บในปี ค.ศ.1945..."
(จาก "ประพาสอุทยาน" ฉบับปกแข็ง มกราคม
2538 หน้า 193)
"...ขณะที่เดินเห็นลิ้นจี่ป่าต้นโต พูพอนก็ใหญ่ ดูเหมือนห้องน้ำ
ลิ้นจี่ป่านี้อาจจะเป็นพืชป่าที่จีนเอาไปปรับปรุงพันธุ์กลับมาขายเราก็เป็นได้..."
(จาก
"สัปดาห์สบายๆ ใกล้ชายหาด" ฉบับปกอ่อน ธันวาคม 2537 หน้า 35)
"...นอกจากนั้นยังมีพืชอย่างอื่น เช่น ส้ม มะนาว ลูกเดือย ตั้งโอ๋
ผักชี ฝักชีฝรั่ง ผักฮ่อมปอย ผักน้ำ พริก เห็ดบด ผักก้านก่ำ
(ก้านเป็นสีแดงเข้า) มะกอก บอน ผักหวาน หน่อไม้ สะค้าน..."
(จาก
"ลาวใกล้บ้าน" ฉบับปกแข็ง มิถุนายน 2538 หน้าน148)
"...เขามีของเล่นให้ดูอย่างหนึ่งคือต้นไม้เต้นรำ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
(ไม้พุ่ม) ภาษาจีนเรียกว่า ฟงหลิวเฉ่า แปลตามตัวว่า เจ้าชู้
แต่ไม่ใช่หญ้าเจ้าชู้ของเรา ไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า ช้อยนางรำ (Codariocalyx
gyrans )
เดิมทีเราเดินมาเขาเปิดเพลงชนชาติไต่ดังลั่น ยอดไม้นี้แกว่งไปมา
เราลองเปลี่ยนเป็นเพฃงสุนารีร้อง (เผอิญทูตทหารติดมา) มันก็เต้นรำ
ตอนหลังไม่เปิดเพลงมันก็เต้น เห็นจะเป็นด้วยลมพัดเสียมากกว่า..."
(จาก
"ใต้เมฆที่เมฆใต้" ฉบับปกแข็ง ธันวาคม 2538 หน้า 148)
"...สวนพฤกษศาสตร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์
เราชมสวนอยู่พักหนึ่ง ดูต้นสาละซึ่งมีผลโตกว่าที่เคยเห็น เงาะป่า (pulasan),
กันเกรา, ต้น double coconut,
เป็นมะพร้าวแฝดมาจากเกาะ Seychelles 8 ปี
จึงจะออกผลครั้งหนึ่ง เขาว่าเป็นยาสมุนไพร แต่ก็ยังไม่มีใครชิม,
lipstick palm, หมากแดง, ปาล์มบังสูรย์, monkey
pot, jelutong ทางใต้ของไทยมียางใช้ได้ เช่น
ทำหมากฝรั่ง, โสกน้ำ, สวนปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หลาวชะโอน,
Sindora มะค่าแต้
ไปบริเวณที่เคยเป็นสวนเครื่องเทศที่เขาปลูกไว้ในป่า
พวกเครื่องเทศที่เขาปลูกต้องการที่ร่ม
จึงเป็นเรื่องที่ดีที่หลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าโดยให้ชาวบ้านมีอาชีพ..."
(จาก "มนต์รักทะเลใต้" ฉบับปกแข็ง เมษายน
2540 หน้า 27-28)
"...ไปที่ Bank's Building
ซึ่งที่จริงเคยดูแล้วเมื่อคราวก่อน ดูวัตถุต่างๆ
ที่ทำจากพืช เช่น ผ้าใยสับประรดของฟิลิปปินส์ กระดาษสาขากเขตแปซิฟิก
ของที่มาจากไทยมี ตุ๊กตากบทำด้วยรากลำพู ฝ้าย ใบยาสูบ บุหรี่มวนใบตอง
เส้นไหมย้อมด้วยฝาง คราม ยาดมส้มมือ ผลมะตูม ใบมะกรูด พืชต่างๆ
เหล่านี้ เขาทำทะเบียนป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ ขณะนี้มีประมาณ 23,000 ชื่อ
เขามีเจ้าหน้าที่ศึกษาเอกสารโบราณที่กล่าวถึงการใช้ประโยชน์พืชชนิดต่างๆ
นักพฤกษศาสตร์เหล่านี้ต้องทำตัวเป็นนักประวัติศาสตร์ด้วย..."
(จาก
"ข้ามฝังแห่งฝัน" ฉบับปกแข็ง กรกฏาคม 2539 หน้า 11)
"...ต้นไม้ใหญ่ๆ มี Monkey Puzzle (Araucaria araucana
(Molina) K.Koch) , Roble Beech (Nothofagus oblique (Mirb.) Bl.)
ทั้งสองต้นมาจากอมริกาใต้ มีต้นเมเปิ้ลจากนอร์เวย์
(Acer plantanoides L. "Dissectum")
ต้นที่น่าสนใจที่สุดคือ Dawn Redwoods (Metasequota
glyptostroboides Mu & Cheng)
ต้นไม้ชนิดนี้เรียกกันว่าเป็น "ฟอสซิลมีชีวิต"
เพราะแต่ก่อนนี้รู้จักแต่ที่เป็นฟอสซิลมีอายุ 200 ล้านปีมาแล้ว (สมัย
Cretaceous) ในปี 1941
พบต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในจีนตอนกลาง
นักพฤกษศาสตร์เก็บตัวอย่างและเก็บเมล็ดมาเพาะปลูกในอังกฤษ ในปี
ค.ศ.1948..."
(จาก "ข้ามฝังแห่งฝัน" ฉบับปกแข็ง กรกฏาคม 2539 หน้า
52-53)
"...เรามีเวลาไม่มากนัก เลยดูพวกโรโดเดนดรอนและอีเลีย
ส่วนมากมาจากเมืองจีน (มณฑลต่างๆ ของจีน) อินเดีย และพม่า
มีหลากหลายอย่างตั้งแต่เป็นพืชเล็กๆ (Rhododendron
fastigiatum Franch. และ
R.radicans Balf.&Forr.)
อยู่เขต alpine
ชนิดที่เป็นพุ่มจนเป็นต้นไม้ใหญ่หลากสี ต้นใหญ่ๆ นี้มีลักษณะต่างๆ
กันเป็นพิเศษแต่ละพันธุ์ เช่น Rhododendron barbatum
G.don ต้นสีแดง นอกจากโรโดเดนดรอน ยังมีอย่างอื่น มีเมเปิ้ล
เฟิร์นต้น ต้นไม้ที่มาจากลังกาก็ปลูกได้ (Rhododendron
arboreum Sm.ssp.
zeylanicum (Booth) Tagg.)
ปลูกปี ค.ศ.1906 ต้นนี้ใหญ่ที่สุดที่มีในสหราชอาณาจักร..."
(จาก "ข้ามฝังแห่งฝัน"
ฉบับปกแข็ง กรกฏาคม 2539 หน้า 136-137)
|