ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทรงงานต่างๆ
โดยพระราชทานพระราชดำริให้กรมแผนที่ทหาร
จัดทำแผนที่ชนิดต่างๆ
ถวาย
เพื่อทรงน้ำไปใช้ในการสำรวจพื้นที่
อีกทั้งทรงใช้งานภาพถ่ายทางอากาศในการสำรวจพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับแผนที่
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของพื้นที่นั้นๆ
มากประกอบพระราชดำริ
ในการจัดทำโครงการพัฒนาต่างๆ
รวมทั้งทรงแนะนำให้ใช้ภาพถ่ายชนิดสี่ช่วงคลื่นซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถจำแนกการใช้ประเภทของที่ดินได้เป็นอย่างดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์เสมอ
ในการเสด็จฯ
ไปทรงเยี่ยมราษฎรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
หากทรงพบว่าราษฎรบางคนเจ็บป่วยมีอาการหนัก
จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือในกรุงเทพฯ
โดยเร็วแล้ว
ก็จะรับสั่งผ่านทางวิทยุสื่อสารถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน
เพื่อให้สนับสนุนในเรื่องการเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์หรือรถยนต์โดยเร็ว
อีกทั้งยังได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณ
ซึ่งเชื่อมต่อวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ให้มูลนิธิแพทย์อาสา (พอ.สว.)
นำไปใช้ในการช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลอีกด้วย
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ติดตั้งวิทยุสื่อสารให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียมทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน
ด้วยทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารที่มีผลตรงต่อการปฏิบัติการฝนเทียมให้ประสบความสำเร็จ
อีกทั้งยังพระราชทานพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย
การออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก
หรือ VHF
ขึ้นเพื่อสามารถรับข่าวสารต่างๆได้ทันท่วงที
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.
ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔
ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องวิทยุกระจายเสียงมาแต่ยังทรงพระเยาว์
และทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารที่ถูกต้อง
รวดเร็ว
ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีผลต่อการพัฒนาประเทศและสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างพระองค์กับประชาชนแล้ว
ยังเป็นสื่อกลางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดกรายการ "บอกบุญ"
ไปยังผู้มีจิตศรัทธา
ให้ร่วมทำบุญ "โดยเสด็จพระราชกุศล"
ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากหลายครั้ง
และเป็นสื่อกลางร่วมกับสถานีวิทยุ
จ.ส. กรมทหารสื่อสาร
ถ่ายทอดการเสด็จฯ
ไปทรงเยี่ยมราษฎรตามจังหวัดต่างๆ
ทั่วภูมิภาคของประเทศ
พุทธศักราช ๒๔๙๕-๒๕๐๑
อีกด้วย
ด้านคอมพิวเตอร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ
ด้วยพระองค์เอง
ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์
เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ
และทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส.
ด้วยคอมพิวเตอร์
เผยแพร่ทางสื่อมวลชน
เพื่อทรงอวยพรปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทยและหน่วยงานต่างๆ
อีกทั้งยังทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบและอักษรเทวนาครี
รวมทั้งมีตัว phonetic symbols
กำกับอยู่ด้วย
นอกจากนั้นยังทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียบเรียงเสียงประสานและพิมพ์โน๊ตเพลง
สำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
อีกทั้งยังทรงทดลองใช้โปรแกรม
Fontastic สร้างตัวอักษรภาษาไทย
และภาษาอังกฤษรูปแบบต่างๆ
และขนาดต่างๆ ด้วย
นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ยังทรงใช้วิชาการและเทคโนโลยีอื่นๆ
อีกในการพัฒนา เช่น
ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร
ด้านการพลังงาน
ด้านสาธารณสุขและการแพทย์
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาการประมง
ตลอดจนด้านการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เป็นต้น
|