ข้าวเป็นพืชอาหารประจำชาติไทย เกษตรกรประมาณ 3.43
ล้านครอบครัว หรือประมาณ 20 เปอร์เซนต์
ทำหน้าที่เป็นผู้ปลูกข้าวเลี้ยงประชากรทั่วประเทศ
และยังมีเหลือส่วนหนึ่งสำหรับเลี้ยงชาวโลก
การทำนาในประเทศไทยแบ่งวิธีการปลูกเป็น 3 วิธี คือ
การทำนาหยอด การทำนาดำ และการทำนาหว่าน
ส่วนจะใช้วิธีการไหนนั้นขึ้นอยู่กับสภาพื้นที่นา
ชนิดพันธุ์ข้าวที่จะปลูก
การทำนาหยอด
เป็นวิธีที่ใช้สำหรับปลูกข้าวไร่
ในสภาพพื้นที่ที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการตกกล้าและปักดำโดยการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ในหลุม
ๆ ละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ดทิ้งไว้
เมื่อฝนตกข้าวก็จะงอกและเจริญเติบโตต่อไป
การทำนาดำ
เหมาะสำหรับบริเวณที่มีฝนตก หรือมีน้ำท่วม
และพื้นดินเก็บกักน้ำได้ดี
เตรียมดินด้วยการไถและคราดให้พื้นนาเป็นโคลนตม
นำต้นกล้าที่ตกกล้าไว้ในแปลงกล้ามาปักดำ
ในระยะห่างที่เหมาะสม
การทำนาหว่าน
ส่วนใหญ่เป็นวิธีการสำหรับปลูกข้าวขึ้นน้ำ
แต่อาจจะใช้กับการปลูกข้าวไร่หรือข้าวนาสวนก็ได้
การทำนาหว่านแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
-
การหว่านข้าวแห้ง เตรียมดินด้วยการไถดะและไถแปร
จากนั้นนำเมล็ดข้าวไปหว่าน
แล้วไถหรือคราดกลบอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อฝนตกหรือปล่อยน้ำเข้าไป ข้าวก็จะงอกงามขึ้น
จะมีผลเสียคือ
ข้าวจะขึ้นเป็นระยะห่างที่ไม่สม่ำเสมอกัน
และมักมีวัชพืชขึ้นมาด้วย
-
การหว่านข้าวงอก
เตรียมดินเช่นเดียวกันกับการทำนาดำ
แต่ใช้การหว่านเมล็ดข้าวที่เพาะไว้จนเริ่มงอกแล้ว
สามารถทำได้ดีทั้งในพื้นที่ดอน ซึ่งเรียกว่า
การทำนาน้ำตมแผนใหม่ และในพื้นที่ลุ่ม
ซึ่งเรียกว่านาหว่านน้ำตมหรือนาหว่านน้ำขัง
ในประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวหลากหลายมาก
สามารถจำแนกได้หลายลักษณะ เช่น
แบ่งตามลักษณะการปรับตัวตามปริมาณน้ำ เป็นข้าวขึ้นน้ำ
และข้าวไม่ขึ้นน้ำ
แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวเป็นข้าวหนักและข้าวเบา
แบ่งตามคุณภาพของแป้ง เป็นข้าวเจ้า และข้าวเหนียว เป็นต้น
|