กิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับสมาชิกที่สนใจศึกษาทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะแสมสาร
เป็นการเรียนรู้และสัมผัสทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล
บนพื้นที่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โดยมีวิทยากรคอยให้แนวทางและคำแนะนำในการทำกิจกรรม
ให้เยาวชนได้รู้จักสังเกต เรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
จนเกิดเป็นนักธรรมชาติวิทยา ปัจจุบันสมาชิกมีผลการศึกษาทรัพยากรหลากหลายกลุ่มด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มโปรตีสเช่น สาหร่ายทะเล ไลเคนส์ กลุ่มเห็ด กลุ่มพืชเช่น
กำแพงเจ็ดชั้น ช้างน้าว มะนาวผี รังกะแท้ โกงกางใบใหญ่ แสมทะเล
หญ้าทะเล และกลุ่มสัตว์ช่น ปลวก ดอกไม้ทะเล หอยชนิดต่างๆ
ในป่าชายเลน สัตว์หน้าดินในป่าชายเลน ปลวก เม่นทะเลหนามยาว
ปลาในแนวปะการัง เป็นต้น (ดังเอกสารแนบ) วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนหรือผู้ที่มีความสนใจในการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ
อย่างใกล้ชิด
และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการศึกษาหรือเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ การจัดการกิจกรรมดังนี้ - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลือกทรัพยากรที่สนใจบริเวณเกาะแสมสาร 1 ชนิด - วิทยากรแนะแนววิธีการศึกษาอย่างนักวิทยาศาสตร์ - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกำหนดหัวข้อที่สนใจคนละ 1 เรื่อง
พร้อมฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยที่ถูกต้อง - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าศึกษาอย่างต่อเนื่อง
หัวข้อกิจกรรมประกอบด้วย 1. ศึกษาทรัพยากรชีวภาพ ตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3. กิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม : ปักษ์ละ 1 ครั้งในวันเสาร์
สถานที่จัดกิจกรรม : พื้นที่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
วิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร
- ผศ. ธีรวรรณ นุตประพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการ อพ.สธ.
- ผศ.ดร.มาลินี ฉัตรมงคลกุล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เจ้าหน้าที่ อพ.สธ. หมู่เกาะแสมสาร
- อาจารย์ผู้ดูแล หากเป็นยุวสมาชิก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบขั้นตอนการดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติ
และนำความรู้ที่ได้ไปดำเนินการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติเกาะแสมสาร
2.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและวิทยากรมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง
การติดตามผลการเข้าร่วมกิจกรรม
1.
ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องทำการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติคนละ 1
เรื่อง และส่งรายงานความก้าวหน้าให้อาจารย์ผู้ควบคุมทุกสัปดาห์
หรือตามที่อาจารย์นัดหมาย
2.
ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องส่งรายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์
และนำเสนอผลการศึกษาแก่สาธารณะชนได้ |