|
|
ผักตบชวา
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Eichhornia crassipe (C.Mart) Solms
วงศ์
: Pontederiaceae
ชื่อสามัญ
:
Water hyacinth , Java weed
ชื่ออื่น
:
ผักตบป่อง
สวะ (ภาคกลาง) ผักบ่ง (นครราชสีมา) ผักป่อง (สุพรรณบุรี) |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นวัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี
สูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้นบริเวณข้อ
รากมักมีสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin)
ลำต้นแตกไหลเกิดเป็นลำต้นใหม่ติดต่อกันไป ใบ ออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น (rosettes)
ใบกว้างใหญ่ รูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ
ปลายใบมน
ขนาดของใบและความยาวของก้านใบขึ้นกับสภาความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่
ส่วนของก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุนลักษณะคล้ายฟองน้ำ
ช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำได้ ดอก ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ออกดอกได้ตลอดปี
ในช่อหนึ่งๆ มีดอกย่อย 6-30 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)
มีสีม่วง มีจุดเหลืองตรงกลาง ส่วนฐานกลีบดอกหลอมรวมกันเป็นรูปกรวย
ส่วนปลายแยกเป็น 6 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมียเป็นเส้นบางๆ
ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว ผล เป็นชนิดแคปซูล แบ่งเป็น 3 พู
ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีรูปร่างกลม พบขึ้นตามลำคลอง คลองชลประทาน
หนองน้ำ และที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง ขยายพันธุ์โดยอาศัยเมล็ด และส่วนของลำต้น |
ประโยชน์ : ใช้เป็นอาหารสัตว์ (เลี้ยงสุกร) ใช้ทำปุ๋ยหมัก
ทำผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเขียว (โดยโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา) ยอด
ใบ และดอกอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกงส้ม
นำมาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า กระจาด กระบุง
กระเช้า |
|
ที่มาของข้อมูล : วัชพืชในประเทศไทย , ผศ.สุรชัย มัจฉาชีพ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2538 |
|