|
โพทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Thespesia populnea L.
Soland.ex Corr.
วงศ์ :
Malvaceae
ชื่อสามัญ :
Cork tree, Portia tree, Rosewood of
Seychelles, Tulip tree
ชื่ออื่น :
บากู (มลายู-นราธิวาส) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ (เพชรบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น
ขนาดเล็กสูง ๘ ๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำเรือนยอดแผ่กว้าง
ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ใบ
เดี่ยวเรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ขนาด ๕ ๑๐ x ๘ ๑๕ ซม. ปลายใบกว้างแหลมยาว
ถึงเรียวแหลม ฐานใบเว้าลึก มีเส้นใบออกจากโคนใบ ๕ ๗ เส้น ขอบใบเรียบ
ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมันด้านท้องใบสีเทาแกมสีน้ำตาล มีเกล็ด ก้านใบยาว ๖ ๑๖ ซม.
มีหูใบรูปใบหอก ยาว ๐.๓ - ๑ ซม. ร่วงง่าย ดอก ออกตามง่ามใบ
เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านดอกอ้วนสั้น ๒ ๕ ซม. มีเกล็ด มีริ้วประดับ ๓ แฉก
ร่วงง่าย รูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ ยาว ๑.๕ ซม. มีเกล็ดวงกลีบเลี้ยงรูปถ้วยไม่มีแฉก
เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๑ ๑.๕ ซม. คล้ายแผ่นหนังไม่หลุดร่วง กลีบดอกสีเหลือง รูปไข่
กว้าง ยาว ๖ ซม. โคนกลีบติดกันรูประฆังมีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล
แต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว
แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันถัดมา
หลอดเกสรเพศผู้ ยาว ๒.๕ ซม. สีเหลืองจาง ๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหยอด
ออกดอกประมาณเดือน กันยายน ตุลาคม ผล เป็นผลแห้งแตกไม่มีทิศทาง ค่อนข้างกลม
เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ๓ ซม. เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล
ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น มีหลายเมล็ด ผลแก่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์
เมษายน พบมากในที่ดอนหรือชายฝั่งทะเลและริมแม่น้ำที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย |