พืชมีพิษ


 







กลับหน้าหลัก
HOME

 


 
พิษระคายเคืองผิวหนัง


  ย้อนกลับ

 

 

 
 

มะม่วงหิมพานต์

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Anacardium occidentale  L.
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่อสามัญ : Cashew Nut Tree

ชื่ออื่น : กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี  ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้)  นายอ  (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)  มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ)  มะม่วงทูนหน่วย ส้มทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี)  มะม่วงยางหุย มะม่วงเม็ดล่อ (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง)  ยาร่วง (ปัตตานี) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ขนาดกว้าง 7.5-10 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบมน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร โดยแตกออกจากซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเริ่มแรกจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีการพัฒนาฐานรองดอกให้ขึ้น มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ สีเหลืองแกมชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง เนื้อในนิ่ม ที่ปลายจะมีผลติดอยู่เป็นรูปไต ลักษณะเปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมเทา ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ความแตกต่างของฐานรองดอก หรือขั้วผล ทำให้แบ่งมะม่วงหิมพานต์ออกเป็น 3 varieties คือ Americanum ซึ่งลักษณะก้านชูอับเรณูยาว ไม่มีอับเรณู ขั้วผลโตกว่าผลจริง 10 เท่า และ Indicum ซึ่งก้านชูอับเรณูยาวเช่นกัน แต่มีอับเรณูหนา และขั้วผลโตกว่าผลจริงประมาณ 3 เท่า ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่เป็นพิษ :  ยางจากผล
สารพิษ
: resin, diterpene ester
การเกิดพิษ
:  ถ้าถูกยางจากผลทำให้เกิดบาดแผลพุพองต่อผิวหนัง ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองรุนแรงต่อปาก ลิ้น คอ และหลอดลมอักเสบ
การรักษา
:

  • ถ้าน้ำยางถูกภายนอก ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วล้างเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ช่วยให้น้ำยางออกมมากยิ่งขึ้น ถ้ามียาที่เข้าสเตียรอยด์ใช้ทา

  • ถ้ารับประทานเข้าไป
    1.  ให้ใช้ activated charcoal (ถ่าน) รับประทาน
    2.  ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน
    3.  ถ้าอาการหนักให้ส่งโรงพยาบาล