ลักษณะ :
ทานตะวันเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศ
คำฝอย ดาวเรือง
เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกันมากในเขตอบอุ่น
การที่มีชื่อเรียกว่า " ทานตะวัน"
เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์
คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า
และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย
ๆ
หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่
ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ ราก
เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270
เซนติเมตร
มีรากแขนงค่อนข้างแข็งแรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง
60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยค้ำจุนลำต้นได้ดี
และสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลำต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง
แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลำต้น ความสูง
การแตกแขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม
ความสูงของต้นอยู่ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร
การโค้งของลำต้นตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ
แบบที่ต้องการคือแบบที่
ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ 15
ของความสูงของลำต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง
อาจมีความยาวของแขนงสูงกว่าลำต้นหลักแขนงอาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด
หรือตลอดลำต้นก็ได้ ใบ
เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม
หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว
ใบที่เกิดหลังจากนั้นจะมีลักษณะวน
จำนวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ
รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์
สีของใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม
ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ ๆ
ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1
เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ
โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (
U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน
หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง ดอก
เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลำต้นหลัก
หรือแขนงลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกอยู่ระหว่าง
6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม
ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก
ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2
ชนิด คือ
1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ
(เป็นหมัน) มีกลีบดอกสีเหลืองส้ม
2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัวเมีย
และสายพันธุ์ผสมเปิดส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700 - 3,000
ดอก ในพันธุ์ที่ให้น้ำมัน ส่วนพันธุ์อื่น ๆ
อาจมีดอกย่อยถึง 8,000 ดอก
การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์กลางของดอก
ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก
แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรก ๆ
ดอกจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลำต้นหลัก
ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า
มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว
เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี
เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน
ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง
เมื่อผลสุกส่วนของดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง
ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก
ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง
เมล็ดทานตะวันแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ
เปลือกเมล็ดบางให้น้ำมันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก
เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด
เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน
โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน
หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร
หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่างเช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก
หรือไก่โดยตรง
ประโยชน์ :
เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่ง
น้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง
ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค
หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมัน
อุดตันในเส้นเลือด
นอกจากนี้น้ำมันจากทานตะวันยังประกอบด้วยวิตามิน
เอ ดี อี และ เค ด้วย
|