ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 25 เมตร
ไม่แตกกิ่ง ใบแตกที่ยอดแบบขนนก เรียงสลับหนาแน่น
ยาว 4-6 เมตร มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป
ใบแต่ละใบรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100
ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก
แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีสีเหลืองหม่น
ดอกตัวเมียสีเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม.
ผลแข็ง มีเมล็ดเดียว ขนาดผลเท่าศีรษะคน
รูปไข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ
สีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง ผลอ่อนมีเนื้อ
เมื่อแก่กลายเป็นเส้นใยและชั้น
endocarp แข็ง ชั้น
mesocarp
ให้เส้นใยมะพร้าว เมล็ดมี
embryo เล็กมาก และมีน้ำเรียกว่า
น้ำมะพร้าว หรือ coconut milk
มี endosperm
สีขาว เรียกว่า copra
ผลอ่อนนิมใช้ดื่มน้ำมะพร้าว ผลแก่มีน้ำมะพร้าวน้อย
มะพร้าวมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาแพร่หลายไปอเมริกา อินเดีย มาดากัสการ์ และอาฟริกา
ชาวสเปนเป็นผู้นำไปปลูกยังหมู่เกาะเวสท์อินดีส
และทะเลแคริเบียนตอนใต้
ชาวยุโรปนำไปปลูกในประเทศบราซิล และชาวโพลิเนเซียนนำไปยังเกาะต่างๆ
ในมหาสมุทรแปซิฟิค
แหล่งปลูกและผลิตมะพร้าวที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค
อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ เม็กซิโก อินเดีย ซีลอน
มาลายา อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา
ในไทยปลูกมากที่จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
สรรพคุณ :
พื้นบ้านของไทย
ใช้น้ำมันมะพร้าวทาแก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
รักษาโรคผิวหนัง กลาก รักษาบาดแผลเรื้อรัง แผลสด
แผลเน่าเปื่อย รักษาบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด
ดับพิษปวดแสบปวดร้อน แก้ผิวหนังด่าง แก้ผิวหนังแตกเป็นขุย
อุดฟันแก้ปวดฟัน ไฮอิติ
ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
กัวเตมาลา ใช้สารสกัดน้ำร้อนจากผลแห้งรักษาฝี
รักษาผิวหนังติเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และลดการอักเสบ
ฟิจิ ใช้น้ำมันจากเมล็ดป้องกันผมร่วง
นอกจากนี้ส่วนอื่นๆ
ของมะพร้าวยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ราก แก้กำเดา
แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย เปลือกต้น
ชะล้างบาดแผล สมานแผล ทาแก้หิด ใช้สีฟัน แก้ปวดฟัน
น้ำจากผล ชูกำลัง บำรุงกุมารในครรภ์ให้มีกำลัง
บำรุงหัวใจ แก้ท้องเดิน ทำให้จิตใจแช่มชื่น
องค์ประกอบทางเคมี :
น้ำมันมะพร้าว
ได้จากการบีบเนื้อ (endosperm)
ของผลมะพร้าว หรือที่เรียกว่า
copra ซึ่งเป็นไขมัน
60-70 %
ไขมันประกอบด้วย กรดลอริก 45-50
% กรดมัยริสติก 20
% กรดคาพรีลิก (caprylic
acid) 9.5 % และกรดคาปรินิก
(caprinic acid) 10%
นอกจากนี้มีกรดไขมันอิสระ 3-5
%
δ
- lactone
ของ 5-hydroxy fatty acid
โดยเฉพาะ
δ -
octalactone
ซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะของมะพร้าว มีรายงานสารสำคัญอื่นๆ
ดังนี้
|
ไทรเทอร์ปีนส์ (triterpenes
) ได้แก่ อัลฟา-,
เบต้า-อะมัยริน (
α -, ß
-
amyrin)
ไซโคลอาทีนอล (cycloartenol
)
สควาลีน
(squalene)
|
|
สเตียรอยด์ (steroids)
ได้แก่ แคมเพสเตียรอล (campesterol)
เบต้าซิโตสเตียรอล (
ß
- sitosterol
)
สติ๊กมาสเตียรอล (stigmasterol)
|
|
อัลเคน ได้แก่ เอ็น-โดโคแซน (n-docosane)
เอ็น-ไทรโคเซน (n-tricosane) |
|
โปรตีด (proteids)
ได้แก่ อะลานีน
(alanine)
กรดกลูตามิก
(glutamic
acid) ไลซีน (lysine) |
|
แอลคาลอยด์ ได้แก่
ลิกัสทราซีน (ligustrazine) |
Coconut ( Cocos nucifera )
oil เป็นน้ำมันที่ได้จากการบีบเนื้อ
(endosperm)
ของผลมะพร้าว
ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง
:
น้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นเบสของขี้ผึ้ง
และใช้เป็นส่วนผสมที่ให้
cooling effect
ในเครื่องสำอางและลูกอม
เป็นส่วนประกอบในแชมพูเพื่อให้เส้นผมเป็นเงางามและจัดทรงง่าย
ทำให้เส้นผมคงความสะอาดได้นาน
เป็นส่วนประกอบในแชมพูต้านรังแค
แก้คันศีรษะ
เป็นส่วนประกอบในแชมพูที่ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม
เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางสำหรับชำระล้าง
และเป็นส่วนประกอบในสารเคลือบผิว
ทำให้ผิวนิ่มและลดการระคายเคืองในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวางที่ต้องได้รับการฉายรังสีป้องกันแสงแดด
(tanning
sunscreen)
ประโยชน์ทางยา
: น้ำมันมะพร้าวกระตุ้นการงอกของเล็บและทำให้เล็บแข็งแรง
มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน
ต้านยีสต์
Candida albicans |