ย้อนกลับ

หน้า  1  2   

 





 
 

ถั่วลิสง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Arachis hypogaea  L.
วงศ์ :  Leguminosae
ชื่อสามัญ :  Gruondnut , Peanut , Monkeynut
ชื่ออื่น : ถั่วคุด (ประจวบคีริขันธ์), ถั่วดิน (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ถั่วยี่สง (ภาคกลาง)

ลักษณะ :  เป็นไม้ล้มลุก  ระบบราก : เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) ซึ่งมีราก 3 ชนิด คือ (1) รากแก้ว (2) รากแขนง และ (3) รากฝอย ที่รากถั่วลิสงมีปมของแบคทีเรียพวก Rhizobium sp  ใบ : เป็นใบรวม (compound leaves) มีรูปกลมรี ปลายใบมน แต่ละใบขนาดประมาณ 3x4 ซม. แต่ละชุดใบมีใบย่อย 2 คู่แบบ pinnate ก้านใบรวม (petiole) มีความยาว 3-7 ซม. ที่โคนมีหูใบ 2 อัน ดอก : เป็นดอกช่อแบบ spicate ดอกมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เป็นพวก cleistogamy ฐานช่อดอกเรียกว่า bract (หรือ cataphyll) ดอกเป็นแบบผีเสื้อ (papilionate) มีส่วนต่าง ๆ เป็นลำดับนอกสุดถึงชั้นในสุด ดังนี้ กลีบดอก ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก 1 กลีบ ชั้นกลาง 2 กลีบ และชั้นในสุด 2 กลีบ ภายในกลีบดอกชั้นในสุด มีอับเกสรตัวผู้ 10 อัน (มีลักษณะกลม 4 อัน รูปไข่ 4 อัน และอีก 2 อันเป็นหมัน) และมีเกสรตัวเมีย ซึ่งประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย ก้านเกสรตัวเมีย และรังไข่ เมื่อดอกได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว จะพัฒนาเป็นรูปร่างยาว โดยการยืดตัวของท่อ hypanthium การยืดตัวนี้เกิดจากการยืดตัวของเนื้อเยื่อพวก intercalary meristem ซึ่งอยู่ที่ฐานของรังไข่ ก้านยาวนี้มีปลายแข็งเรียกทั้งหมดว่า เข็ม (peg) เมล็ด : เมล็ดของถั่วลิสงมีเยื้อหุ้มสีต่าง ๆ กัน ขนาดเมล็ดขึ้นอยู่กับชนิดของถั่ว
ประโยชน์ : ถั่วลิสง เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอีกชนิดหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเมล็ดถั่วลิสงมีโปรตีนประมาณ 30 % น้ำมันประมาณ 47 % แต่มีคาร์โบไฮเดรทต่ำประมาณ 12 % จึงนิยมนำเมล็ดถั่วลิสงไปใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน รวมทั้งมีการใช้บริโภคเป็นอาหารโดยตรง ในประเทศไทยมีการปลูกถั่วลิสงแทบทุกภาค คิดเป็นพื้นที่รวมประมาณ 5.5 แสนไร่ โดยอาจปลูกในฤดูปกติ หรือปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกแซมในสวนยางพารา แต่ที่ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกถั่วลิสงควรเป็นดินร่วนปนทราย ทั้งนี้เพราะถั่วลิสงนั้นจะแทงเข็มลงไปในดิน เพื่อพัฒนาเป็นฝักและเมล็ดใต้ดิน ผลผลิตถั่วลิสงของไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ