ย้อนกลับ
หน้า 1 2
คำฝอย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L. วงศ์ : Compositae ชื่อสามัญ : Safflower , False saffron, Saffron thistle ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก ประโยชน์ : ด้านสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู เมล็ดเป็นยาถ่าย ขับเสมหะ ขับประจำเดือน รักษาโรคผิวหนัง ทาแก้บวม พบว่ามีสารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือ carthamin และ safflower yellow ใช้แต่งสีอาหาร โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อน ส่วนเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยยากเรียว่าน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย มีส่วนประกอบเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น กรด linoleic และกรด linolenic การทดลองในสัตว์หลายชนิดรวมทั้งคนปกติและผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเส้นเลือดสูง พบว่าน้ำมันสามารถป้องกันไม่ให้ระดับโคเลสเตอรอลสูงขึ้น และป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด อย่างไรก็ดียังไม่จัดว่าน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยเป็นยา แต่ใช้ป้องกันโดยนำมาปรุงอาหารแทนไขมันสัตว์