ลักษณะ :
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 2-7 เมตร
ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเกลา ใบเรียบมี 4 แฉก
คล้ายใบละหุ่ง
แต่มีหยักตื้นกว่าใบที่เจริญเติบโตเต็มที่
มีขนาดเท่าฝ่ามือ ลำต้น ใบ ผล และเมล็ด มีสาร
hydrocyanic สังเกตได้เมื่อหักลำต้น
ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา
มีกลิ่นเหม็นเขียว
ต้นสบู่ดำออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอด
ขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน
เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาเป็นช่อพวงมีหลายผล
เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจัน
รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง
มีปลูกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู
โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้
เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย
สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่
เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลง
ขนาดของเมล็ดเฉลี่ยความยาว 1.7-1.9 เซนติเมตร หนา
0.8-0.9 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69.8
กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว
ประโยชน์ :
เมล็ดสบู่ดำให้น้ำมัน
การสกัดน้ำมันสบู่ดำ ผลสบู่ดำแห้ง
(ผลสีเหลืองถึงสีดำ) ที่แก่จากต้น
นำมากะเทาะเปลือกออกให้เหลือเฉพาะเมล็ด
นำไปล้างน้ำทำความสะอาด
นำมาผึ่งลมให้เมล็ดแห้งนำไปบุบเมล็ดให้แตก
โดยการทุบหรือบดหยาบ
นำเมล็ดที่ได้บุบแล้วออกตากแดดเพื่อรับความร้อนประมาณ
30 นาที แล้วนำเมล็ดสบู่ดำเข้าเครื่องสกัด
(ใช้แรงงานคน) นำน้ำมันที่ได้ไปกรองเพื่อแยกเศษผง
เมล็ดสบู่ดำ 4 กิโลกรัม สกัดน้ำมันได้ 1 ลิตร
น้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดสบู่ดำ
สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้
โดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมและไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย
กากเมล็ดสบู่ดำที่เหลือจากการสกัดน้ำมันมีปริมาณไนโตรเจนสูง
ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการ
จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของพืชได้
การทดสอบการใช้งาน
จากการนำน้ำมันสบู่ดำที่ได้ไปทดลองเดินเครื่องยนต์คูโบต้าดีเซล
1 สูบ แบบลูกสูบนอกระบบ 4 จังหวะ
ระบายความร้อนด้วยน้ำ ปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี 7
แรงม้า/2,200 รอบ/นาที
เปรียบเทียบการทำงานของเครื่องยนต์ (รอบ/นาที)
และความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (ซีซี/ชั่วโมง)
ระหว่างการใช้น้ำมันสบู่ดำกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ผลจากการทดสอบกับเครื่องยนต์
เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ 1,000
ชั่วโมง ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ
เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวนลิ้น หัวฉีด และอื่นๆ
ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม
พิษ สบู่ดำจัดเป็นพืชที่แปลกกว่าพืชอื่น
เพราะทั้งต้นมีพิษ
โดยจะมีสารที่เป็นกรดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Hydrocyanic
มีกลิ่นเหม็นเขียวทำให้สัตว์และแมลงไม่อยากเข้าใกล้
ดังนั้นในสมัยโบราณเลยปลูกสบู่ดำไว้เป็นรั้วกันสัตว์เข้ามารบกวน
เมล็ดสบู่ดำยังมีสารพิษชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า
Curcin หากกินแล้วจะทำให้ท้องเดินเหมือนกับสลอด
คนอีสานเลยเรียกสบู่ดำว่า สีหลอด |