ฟักทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Cucurbita
moschata Decne.
วงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Pumpkin
ชื่ออื่น :
หมากอึ (ภาคอีสาน)
มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง
(แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า ภาคใต้
ลักษณะ :
เป็นพืชล้มลุก
มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมมน
ผิวเป็นร่องตามความยาว มีขนอ่อน ๆ มีหนวดสำหรับยึด เกาะยึดบริเวณข้อ
ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับกัน โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ
ขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนทั้ง 2
ด้านของตัวใบดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองมีขนาดใหญ่
ลักษณะคล้ายระฆังหรือกระดิ่งออกบริเวณง่ามใบผลมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นพูเล็ก ๆ
โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ
สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง
และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟู ๆ มีรูปร่างคล้ายไข่
แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ
ประโยชน์ทางสมุนไพร :
เนื้อฟักทองประกอบด้วยแป้ง โปรตีน
ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า - แคโรทีน
ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ เมล็ดมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง
รวมทั้งแป้ง โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine)
เป็นสารสำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี นอกจากนั้น
ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ซึ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา
ตับและไต เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
และช่วยดับพิษปอดบวม รากช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม
และงูสวัด
|