|
|
ขิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Zingiber
officinale Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่ออื่น : ขิงแกลง
ขิงแดง ขิงเผือก
ลีกษณะ :
ไม้ล้มลุกสูง
0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบ
เดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม.
ยาว 15-20 ซม.
ดอก ช่อแทงออกจากเหง้า
กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3
พู
ประโยชน์ทางสมุนไพร :
ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ
และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม
จากการทดลองกับอาสาสมัคร
36
คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน
(dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย
menthol, bornelo, fenchone, 6-shogoal และ6-gingerol
menthol, มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone
และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ดได้แก่ , 6-shogoal
และ6-gingerol
ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
|
|