|
คล้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Schumannianthus dichotomus (Roxb.)
Gagnep.
วงศ์ :
Marantaceae
ชื่ออื่น : ก้านพร้า (ภาคกลาง)
คล้า (ภาคกลาง, นครศรีธรรมราช) บูแมจี่จ๊ะไอย์
(มลายู-ปัตตานี) เบอร์แม (มลายู-นราธิวาส) แหย่ง
(ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
คล้าจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีเนื้ออ่อน
เจริญเติบโตเป็นกอหรือพุ่ม มีอายุหลายปี
ลำต้นมีทั้งตั้งตรงและเลื้อย มีเหง้า (rhizome)
หรือหัว (tuberous)
ใต้ดิน แตกหน่อได้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน
มักมีลวดลายและสีสันบนใบสวยงาม โคนต้นมีกาบใบหุ้ม
ลักษณะประจำพืชวงศ์นี้คือ
แผ่นใบสองด้านของเส้นกลางใบไม่เท่ากัน
ขณะใบยังอ่อนด้านใหญ่จะม้วนหุ้มด้านเล็กไว้
นอกจากนี้ตรงรอยต่อของก้านใบกับแผ่นใบจะโป่งออก (pulvinate)
มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบ
เวลากลางวันใบคล้าจะกางออก และจะห่อขึ้นในเวลากลางคืน
คล้ายกับการพนมมือ จึงมีผู้เรียกชื่อพืชวงศ์นี้ว่า
" Player Plants"
ดอก
ออกเป็นช่อบริเวณยอดอ่อนจากซอกกาบใบ
ดอกจะออกเป็นช่อบริเวณยอดอ่อนจากซอกกาบใบ
ดอกจะออกเป็นคู่จากกาบรองดอกที่เรียงซ้อนกันเป็นแถวในระนาบเดียวกัน
สลับซ้ายขวาจากแกนช่อดอก (distichous)
หรืออาจะรียงสลับกันเป็นวง (spiral)
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แต่สมบูรณ์เพียง 1 อัน
ส่วนที่เหลือเป็นหมันจะเปลี่ยนรูปไปคล้ายกลีบดอก 1 กลีบ
ลักษณะของช่อดอกมี 4 แบบ คือ แบบช่อกระจุกอยู่ปลายก้าน
แบบช่อแขนง แบบช่อกระจะ และแบบช่อเชิงลด ผล
ซึ่งไม่ค่อยจะพบนักมี 2 ลักษณะ คือ ผลแห้ง
เมื่อแก่อาจจะแตกหรือไม่แตกออก และผลที่มีเนื้อนุ่ม
และมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
|