วัชพืช

 

 

ย้อนกลับ

















 

ขาเขียด

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Monochoria vaginalis (Burm.f.) C.Presl ex Kunth
วงศ์ : Pontederiaceae
ชื่อสามัญ :  Pickerel weed
ชื่ออื่น ขาเขียด นิลบล ผักเขียด (ภาคกลาง) ผักเป็ด (ชลบุรี) ผักเผ็ด (นครราชสีมา) ผักริ้น (ภาคใต้) ผักหิน ผักฮิ้น (ภาคหเนือ, อุบลราชธานี) ผักฮิ้นน้ำ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : วัชพืชน้ำ รากหยั่งลงดิน สามารถดำรงชีวิตเป็นพืชหลายฤดูได้ มีลำต้นใต้ดินสั้นมาก ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นนั้นคือส่วนของก้านใบที่อัดรวมกันแน่น มีรากฝอยเป็นสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากโคนต้นแบบสลับ ก้านใบยาว 10-25 ซม. มีรูปร่างค่อนข้างกลมและอวบน้ำ ภายในกลวง ส่วนโคนของก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มกันไว้ ใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมัน ดอก ออกเป็นช่อแบบสไปค์ ออกตรงกลางก้านใบและมีใบประดับเขียวอ่อนคล้ายใบ ปลายแหลม ห่อหุ้มดอกในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ประกอบด้วยดอกย่อย 3-15 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 6 กลีบ สีม่วงอมน้ำเงินหรือสีฟ้า ปลายกลีบโค้งมน แต่ละกลีบแยกออกจากกัน ด้านหลังกลีบดอกมีสีเขียวอ่อนๆ ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วง 6 อัน  ผล เป็นแคปซูล ยาวประมาณ 1 ซม. ผลจะแตกเมื่อแก่โดยแตกตามยาวออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก
         พบขึ้นในบริเวณที่มีน้ำขัง ตามบ่อเลี้ยงปลา และในนาข้าวหรือในดินแฉะๆ พบทั่วไปในประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นวัชพืชพบมากในนาข้าวทางภาคเหนือ
ประโยชน์ :