วัชพืช

 

 

ย้อนกลับ







 

ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Pluchea indica (L.) Less.
วงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ :  Indian marsh fleabane
ชื่ออื่น ขลู (ภาคใต้) หนวดงั่ว  หนวดงิ้ว หนาดงัว หนาดวัว (อุดรธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอแตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับรูปไข่กลับ ปลายใบมีขนาดกว้างกว่าทางฐานใบ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอก ออกเป็นช่อตามปลายยอดและที่ซอกใบ ประกอบด้วยช่อดอกย่อยรูปหัวกลมหลายๆ ช่อมารวมกัน กลีบดอกสีม่วงอ่อน หรือม่วงแดงอมชมพู
          พบขึ้นตามที่ลุ่ม ชื้นแฉะ และบริเวณแหล่งน้ำกร่อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ :  ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบและรากใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้โรคบิด แผลเรื้อรัง  ส่วนเปลือกลำต้นใช้สับมวนบุหรี่สูบแก้โพรงจมูกอักเสบ