|
กะทกรก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Passiflora foetida L.
วงศ์
:
Passifloraceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
รก (ภาคกลาง) กระโปรงทอง (ภาคใต้)
เครือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ) ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี)
เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท) ผักขี้หิด (เลย)
ผักแคบฝรั่ง (เหนือ) เยี่ยววัว (อุดรธานี)
ละพุบาบี (มลายู -นราธิวาส,ปัตตานี) หญ้าถลกบาต
(พิษณุโลก, อุตรดิตถ์) หญ้ารกช้าง
(พังงา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: พืชเถาเลื้อย
มีระบบรากแก้ว อายุฤดูเดียวหรือหลายปี
ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นหรือเลื้อยพันพืชอื่น มีมือเกาะ (tendril)
มีขนอ่อนสีขาวหรือสีเหลืองปกคลุมทั่วลำต้น ใบ
เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นแบบสลับ
ใบมีรูปร่างเหมือนใบตำลึงแต่ปลายใบแบ่งออกเป็นสามแฉก
ฐานใบโค้งมนเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
มีขนสั้นๆ ก้านใบยาวประมาณ 6 ซม.
มีหูใบติดอยู่ตรงโคนก้านใบ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม.
กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นร่างแหสีเขียว 3 กลีบ
กลีบดอกชั้นนอกมีสีขาวปลายกลีบมน
ส่วนกลีบดอกชั้นในเป็นเส้นเล็กๆ หลายเส้นปลายแหลม
ส่วนโคนมีสีม่วงและปลายเส้นเป็นสีขาวเรียงกันเป็นรัศมีโดยรอบ
มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ยอดเกสรตัวเมียแบ่งออกเป็น 3 อัน
ผล เป็นชนิด berry
มีรูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4
ซม. ผลแก่มีสีเหลือง
กลีบเลี้ยงที่เป็นร่างแหจะเจริญเติบโตห่อหุ้มผล
มีเนื้อหุ้มเมล็ดลื่น รสหวาน เมื่อผลแก่จะแตกเป็น 3
ซีก มีเมล็ดอยู่ภายในหลายเมล็ด
พบขึ้นทั่วไปในไร่
ในสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า และตามริมถนน
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
รับประทานได้ เป็นสมุนไพรขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ
แก้ปวด พอกแก้หิด ใช้พอกแผล
โทษ :
ทั้งต้นมีสารพิษ กินสดอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
|