กระดุมใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Spermacoce
latifolia Aubl.
วงศ์
: Rubiaceae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
กระดุมใบใหญ่ (ภาคใต้) หญ้าขี้กระต่าย หญ้าเขมร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่มเลื้อย อายุฤดูเดียว
ลำต้นเป็นสี่หลี่ยมมีปีกตามเหลี่ยมของลำต้น
แตกแขนงเล็กน้อย ตามลำต้นมีขนเล็กน้อย ใบ รูปรีหรือรูปไข่
ปลายใบแหลม ฐานใบเรียวแคบเข้าหาก้านใบ ขอบใบระคายมือ
ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย
ผิวใบด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มปกคลุม ก้านใบสั้น ดอก
ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพู
ออกดอกระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ผลเป็นชนิดแคปซูล รูปร่างรีหรือค่อนข้างกลม
เปลือกผลย่นมีขน ผลเมื่อแก่จะแตกตามยาว
ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลรูปรี
พบขึ้นในสวนผลไม้
แปลงผักพืชไร่ และตามที่รกร้างทั่วไป
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
ใช้คลุมดินให้ชุ่มชื้น มีประโยชน์ทางเป็นยาสมุนไพร
โดยนำ ราก มาต้มใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับลมในกระเพาะ
ต้มแล้วจะมีรสขมฝาด
ใบใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
|