ประดู่ป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus   macrocarpus   Kurz
วงศ์ :   Leguminosae
ชื่อสามัญ :  Burma Padouk,  Burmese Ebony
ชื่ออื่น : จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ฉะนอง (เชียงใหม่) ดู่ ดู่ป่า (เหนือ) ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี)

ลีกษณะ :  ไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ผลเป็นฝัก แผ่เป็นปีกแบนๆ
ประโยชน์
:  ตำรายาไทยใช้ แก่น บำรุงโลหิต แก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)  แก่นประดู่ใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาล