ลีกษณะ : โกงกางใบเล็ก
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30
เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก มีเปลือกหนาประมาณ 1.5-3
ซม. เปลือกสีเทาเกือบเรียบ
เมื่อทุบทิ้งไว้สักครู่ด้านในของเปลือกจะเป็นสีแสดอมแดงถึงแดงเลือดหมู
กระพี้สีเหลืองอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง
เนื้อไม้เป็นมันวาว น้ำหนักมาก (ความถ่วงจำเพาะ
1.04) เสี้ยนตรง (วิรัชและดำรงค์, 2517)
มีรอยแตกตามแนวตั้งมากกว่าแนวนอน
เปลือกไม้โกงกางใบเล็กมีแทนนินมากประมาณ 7-27
เปอร์เซนต์ของน้ำหนักเปลือกไม้
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้ามกัน
ใบแต่ละคู่จะออกสลับทิศทางกัน (Opposite decussate)
ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. หรือเล็กกว่า
ขอบใบเรียบ ใบหนาเป็นมัน รูปใบมน (elliptic)
ค่อนไปทางรูปใบหอก ฐานใบสอบเข้าหากันคล้ายรูปลิ่ม
(Cuneate) ปลายใบแหลม (Acute) หรือเป็นติ่ง (Apiculate)
สีดำ มองเห็นชัดเจน ก้านใบยาว 1.5-3 ซม.
หูใบสีแดงเข้ม ยาว 4-8 ซม. หุ้มใบอ่อนไว้
ใบเกลี้ยงทั้งหน้าใบและหลังใบมีจุดสีน้ำตาล ดอก
เป็นดอกช่อแบบ Cymes ช่อหนึ่งมี 2
ดอกย่อยอยู่ชิดกันแตกออกจากซอกใบตรงปลายกิ่ง
ที่ฐานดอกย่อยมีใบประดับ (bracteole)
รูปถ้วยรองรับ เมื่อแห้งจะมีลักษณะแข็ง กลีบเลี้ยง
(calyx) มี 4 กลีบ สีเขียวอมเหลือง แข็งอวบ ยาว
10-14 ซม. โคนกลีบติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นแฉกรูปไข่
ปลายแหลมและยังคงติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอก (petal)
มี 4 กลีบ เป็นแผ่นบาง ๆ สีขาวรูปใบหอก ยาว 8-11
มม. ไม่มีขน ร่วงเร็ว เกสรตัวผู้ (stamen) มี 12
อัน ยาว 0.6-0.75 ซม.
เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน รังไข่
แบบ half-inferior มี 2-3 ห้อง (locule)
แต่ละห้องมี 2 ovule
จะออกดอกประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม
ผลแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผล เป็นผลแบบ
Drupebaceous มีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายไข่ (conicalovoid)
เมื่อแก่จะไม่แตก (indehiscent)
เปลือกของผลหยาบสีน้ำตาล
มีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายใน 1 ผล มี 1 เมล็ด
ซึ่งเมล็ดไม่มีการพักตัว
จะเจริญต่อไปในขณะที่ผลยังติดอยู่บนต้นแม่ จัดเป็น
(Viviparous seed) เมล็ดจะงอกส่วนของ radicle
แทงทะลุออกมาทางปลายผล ตามด้วยส่วนของต้นอ่อน (Hypocotyl)
ซึ่งเจริญยาวออกเรื่อย ๆ มีลักษณะปลายแปลมยาว
สีเขียว หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ฝัก ยาวประมาณ
30-40 ซม. ผลแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
เมื่อผลแก่ คัพภะ (embryo)
จะหลุดออกจากเปลือกผลปักลงดินเลนก็จะงอกทันที
แต่ถ้าหล่นลงขณะน้ำทะเลขึ้นก็จะลอยไปตามน้ำ
และมีชีวิตประมาณ 2 เดือน
เมื่อเกยตื้นหรือติดอยู่กับที่จะงอกทันที
ประโยชน์ :
ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ
intertidal forest) คือ
กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด
และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ
หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด
ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลน
จึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย
ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย
ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ
เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร
และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด
นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ
โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง
ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล
และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณ
ชายฝั่งและในทะเล |