|
|
อัญชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Clitoria ternatea
L.
วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae
ชื่อสามัญ :
-
ชื่ออื่น :
แดงชัน
(เชียงใหม่) ; อัญชัน (ภาคกลาง) ; เอื้องชัน (ภาคเหนือ) ; Blue pea ;
Butterfly pea
ลักษณะ
:
เป็นพืชอายุหลายปี ต้นเป็นกอพุ่มขนาดเล็ก
ปลายยอดเป็นเถาเลื้อยพัน (twinning) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.4-3.6
มิลลิเมตร อัญชันที่เก็บรวบรวมพันธุ์จำแนกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดดอกรูปดอกถั่ว
มี accession no. PC 011 กลีบกลาง (standard)
ของดอกมีสีน้ำเงินอมสีม่วงคราม (mauve)
บริเวณด้านหน้าและหลังกลางกลีบมีสีขาวนวล อมเหลืองอ่อนเป็นริ้ว กลีบคู่ล่าง
(keel) สีขาวนวล กลีบคู่ข้าง (wing) สีขาวนวลขอบกลีบสีน้ำเงินอมม่วงคราม
และ accession no. PC 010 กลีบดอกมีสีขาวนวล อีกชนิดที่พบลักษณะดอกมี 5
กลีบดอก (standard) ขนาดใหญ่สีน้ำเงินอมม่วงครามซ้อนกันบิดเวียน (convolute)
ตรงกลางกลีบด้านหน้าและหลังมีสีขาวนวลอมเหลืองอ่อนเป็นริ้ว
ไม่มีกลีบคู่ล่างและกลีบคู่ข้าง (accession no. PC 622) ทั้ง 2
ชนิดมีอับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อน ใบประกอบเรียงตัวแบบขนนก ปลายคี่ (odd-
pinnate) ใบย่อยรูปไข่ (oval) accession no. PC 010 และ PC 011
ส่วนปลายยอดใบ(apex) เว้าบุ๋มลงเล็กน้อย ส่วน accession no. PC 622
ปลายยอดใบโค้งแหลมและมีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ หน้าใบและหลังใบมีขนสั้น ๆ
ปกคลุมเล็กน้อย สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย
ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) สีก้านใบเขียวมีขนคลุมปานกลาง ก้านใบยาว
2.64-4.12 เซนติเมตร หูใบสีเขียวอมน้ำตาลรูปหนาม (spinous) ออกดอกตลอดปี
ชนิดดอกเดี่ยว ดอกดกในช่วงฤดูฝน ออกดอกที่ตาข้าง ฝักรูปดาบแบนโค้งเล็กน้อย
ฝักยาว 9.05-12.49 เซนติเมตร กว้าง 0.95-1.15 เซนติเมตร เมล็ดแบนรูปไต
ประโยชน์ :
เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ
ขึ้นอยู่เลื้อยพันร่วมกับหญ้าได้ดี
ปลูกเป็นพืชเดี่ยวสำหรับตัดสดเลี้ยงสัตว์หรือทำแห้งเป็นอาหารหยาบเลี้ยงสัตว์
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้รากฝนกับรากสะอึกและน้ำซาวข้าว กินหรือทา แก้งูสวัด
ตำรายาไทย ใช้ราก รสเบื่อเมา ปรุงเป็นยา กินและพอกถอนพิษสุนัขบ้า (จิรายุพิน
และคณะ, 2542) |
|